วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คำกล่าวสุนทรพจน์ของดร.เตช บุนนาค

ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ กรรมการพิพิธภัณฑ์ฯกล่าวรายงาน ดร.เตช บุนนาค ประธาน ในพิธีเปิดนิทรรศการ "รอยสยามบนแผ่นฟิล์มพระปกเกล้า"
วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องโถง อาคารรำไพพรรณี ชั้น 6 พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

เรียน  ท่านผู้บริหารสถาบันพระปกเกล้า คณะกรรมการพิพิธภัณฑ์ฯ และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
          ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้รับเชิญให้มาเปิดนิทรรศการ "รอยสยามบนแผ่นฟิล์มพระปกเกล้าฯ"ในวันนี้
          เมื่อปีพ.ศ. 2519 ขณะที่ผมเป็นกรรมการสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 พระองค์อุปถัมภ์พระองค์หนึ่งของสยามสมาคมฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สยามสมาคมฯขอพระราชทานยืมฟิล์มภาพยนตร์เพื่อนำไปฉายที่สมาคมฯ เนื่องในโอกาสที่สมาคมฯจัดงานฉลอง 72 ปีของการสถาปนาในปีนั้น ทั้งนี้ฯ พระกรุณาธิคุณดังกล่าวสืบเมื่องมาจากการที่ ม.ร.ว.ปิ่มสาย อมระนันท์ เป็นเลขานุการสยามสมาคมฯ ม.ร.ว.ปิ่มสาย (สวัสดิวัตน์) อมระนันท์
เป็นใคร  ผมคงจะไม่ต้องอธิบายเพราะสามารถหาข้อมูลได้ในพิพิธภัณฑ์นี้เอง




ดร.เตช บุนนาค (คนยืนกลาง)
        หลังจากนั้น ภาพยนตร์ในพระองค์ชุดดังกล่าวก็อยู่ในความดูแลของสยามสมาคมฯ จะว่าดูแลก็คงจะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว  ควรจะพูดว่าเก็บไว้ที่สยามสมาคมฯจะดีกว่า  เพราะมีเพียงผู้เดียวที่ไปดูแลคือ อาจารย์โดม สุขวงศ์ ซึ่งรักภาพยนตร์ไทยเป็นชีวิตจิตใจและสละเวลาไปสยามสมาคมฯเพื่อกรอฟิล์มภาพยนต์ไม่ให้ละลายแล้วติดกันจนจะฉายไม่ได้อีก  จนกระทั่งเมื่อปีพ.ศ. 2526 แผนกวิชาการถ่ายภาพและภาพยนตร์  สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯจัดตั้งโครงการอนุรักษ์ภาพยนตร์ในประเทศไทยขึ้น  และขอรับฟิล์มภาพยนตร์ชุดนั้นจากสยามสมาคมฯ เพื่อนำไปดำเนินการอนุรักษ์  ซึ่งต่อมาได้มีการย้ายไปอนุรักษ์ต่อที่หอภาพยนตร์แห่งชาติ  เมื่อธันวาคม 2549 ในกรณีหลังนี้ผมได้มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะรองนายกอาวุโสของสยามสมาคมฯ ในการประสานงานระหว่างสยามสมาคมฯกับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ เพื่อย้ายฟิล์มภาพยนตร์ชุดนั้นไปยังหอภาพยนตร์แห่งชาติ ซึ่งสำเร็จลุล่วงด้วยดีไปได้ก็ด้วยความช่วยเหลือติดตามอย่างใกล้ชิดโดยคุณอวยพร  เกิดช่วย ผู้จัดการสยามสมาคมฯในขณะนั้น


ภาพกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้เข้าชมถ้ำมองและชมนิทรรศการ"รอยสยามบนแผ่นฟิล์มพระปกเกล้าฯ"ในพิธีเปิด
        ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 พิพิธภัณฑ์ฯได้รับภาพยนตร์ส่วนพระองค์ในรัชกาลที่ 7 ซึ่งได้รับการอนุรักษ์แล้วจากหอภาพยนตร์แห่งชาติจำนวนหนึ่งจากโครงการอนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์ที่สถาบันพระปกเกล้าให้ทุนสนับสนุนงบประมาณในการอนุรักษ์ 40 เรื่อง ทางคณะอนุกรรมการวิชาการพิพิธภัณฑ์ฯจึงเห็นชอบให้จัดนิทรรศการขึ้นเพื่อเผยแพร่พระราชประวัติและพระราชจริยวัตรด้านการถ่ายทำภาพยนตร์ในรัชกาลที่ 7 เพราะไม่เพียงแต่จะบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าเท่านั้น  หากยังแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระทัยในความเป็นอยู่ของราษฎรรวมถึงศิลปวิทยาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้งอีกด้วย

กิจกรรมพิพิธพาทีประกอบนิทรรศการ

โครงการจ้างเหมารวบรวมเอกสารพระปกเกล้าศึกษา โดยคณะนักจดหมายเหตุ

เอกสารจดหมายเหตุคือเอกสารที่หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชนผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการปฏิบัติงาน   วงจรของเอกสารเกี่ยวพันกับหน่วยงานและองค์ก...