เอกสารจดหมายเหตุคือเอกสารที่หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชนผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการปฏิบัติงาน วงจรของเอกสารเกี่ยวพันกับหน่วยงานและองค์กรอื่นๆ ตามลักษณะเนื้อหา เรื่องราว ระยะเวลา ฯลฯ หากยิ่งนานวันคุณค่าของเอกสารจดหมายเหตุยิ่งมากขึ้น ดุจคลังปัญญาที่มีค่าต่อการบริหารองค์กร นอกจากเป็นหลักฐานที่สำคัญของหน่วยงานองค์กรนั้นๆ แล้ว ยังเปรียบเสมือนเป็นมรดกขององค์กรและเป็นหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกประเภทหนึ่ง เพราะเอกสารจดหมายเหตุคือเอกสารต้นฉบับ ที่สามารถสะท้อนให้เห็นความจริงของประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาได้อย่างถูกต้องเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรจุความทรงจำขององค์กรของประเทศชาติ
หน้าที่หลักของนักจดหมายเหตุ นอกจากการเก็บสงวนรักษาเอกสารจดหมายเหตุให้ดำรงคงสภาพดีตลอดไปแล้ว การให้บริการด้วยวิธีการต่างๆ การจัดทำเครื่องมือช่วยค้นประเภทต่างๆ ตลอดจนงานประชาสัมพันธ์เผยแพร่เพื่อให้ผู้ค้นคว้า นักวิจัย นักวิชาการและผู้ที่สนใจสามารถค้นคว้าสามารถเข้าถึงเนื้อหาในเอกสารจดหมายเหตุเพื่อใช้ในการอ้างอิงได้ล้วนเป็นงานของนักจดหมายเหตุที่ดี
การจัดทำบรรณนิทัศน์เอกสารไมโครฟิล์ม รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ฉบับนี้ ได้ดำเนินการอ่านทบทวนทั้งหมดจากจำนวนไมโครฟิล์ม 56 ม้วน 2,471เรื่อง 70,264 หน้า อายุเอกสาร พ.ศ.2449 - 2481 และวิเคราะห์ประเด็นสำคัญนำมาจัดหมวดหมู่เนื้อหาของเอกสาร โดยใช้หมวดหมู่พื้นฐานของข้อมูลตามหลักวิชาการด้านจดหมายเหตุ ซึ่งวิเคราะห์ตามเนื้อหาของเอกสารและภารกิจรวมทั้งพิจารณาโครงสร้างการบริหารงานของกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น หมวดหมู่ที่กำหนดเป็นไปตามเนื้อหาที่ปรากฏในเอกสารของกระทรวงมหาดไทยอย่างแท้จริง
เอกสารเอกสารไมโครฟิล์ม รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทยจัดเป็นหมวดได้ 5 หมวด ดังนี้
1. การเมืองการปกครอง
2. เศรษฐกิจ
3. การคมนาคม
4. การสาธารณสุข
5. หนังสือพิมพ์
จากการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า เอกสารไมโครฟิล์มกระทรวงมหาดไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นเอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสะท้อนถึงหมวดการเมืองการปกครองมากที่สุด รองลงมาคือหมวดหนังสือพิมพ์ หมวดสาธารณสุข การคมนาคม และเศรษฐกิจ ตามลำดับ
ความสำคัญของเอกสารไมโครฟิล์ม รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทยสะท้อนภารกิจของกระทรวงมหาดไทยในสมัยการปกครองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในเรื่องการบริหารราชการทั่วไป คล้ายกับภารกิจที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อมาในการปกครองแบบสมบูรณญาสิทธิราชย์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่มีบางเรื่องที่สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง ภารกิจของกระทรวงมหาดไทยมีมากขึ้น บทบาทใหม่ของรัฐบาลที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่อยู่ภายใต้ข่ายงานของกระทรวงมหาดไทย สำหรับไมโครฟิล์มหมวดหนังสือพิมพ์นั้นก็สะท้อนให้ภาพรวมของบ้านเมืองในสมัยนั้นได้อย่างครอบคลุม ทั้งการเมืองการปกครอง สังคม ความเป็นอยู่ เห็นความเปลี่ยนแปลงของการสื่อสารและความคิดเห็นที่แสดงออกผ่านทางหนังสือพิมพ์ได้อย่างมีอิสระทางความคิดมากขึ้น ส่วนหมวดการคมนาคม การสาธารณสุขและเศรษฐกิจเนื้อหาโดดเด่นไม่มากนัก อาจเป็นเพราะช่วงเวลาในการครองราชย์
กล่าวได้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้กระทรวงมหาดไทยเป็นกลไกสร้างระบบการปกครองและควบคุมแทนที่ระบบศักดินา นอกจากสามารถสะท้อนให้เห็นวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงจากอดีตของกระทรวงมหาดไทยแล้วยังสามารถสะท้อนให้เห็นบ้านเมืองในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
คณะนักจดหมายเหตุ ตั้งใจในการดำเนินงานโครงการนี้อย่างจริงใจและทุ่มเทเพื่อปรารถนาให้เอกสารจดหมายเหตุไมโครฟิล์มชุดนี้ได้มีโอกาสก่อเกิดประโยชน์ในการสืบค้นเข้าถึง ใช้อ้างอิงข้อมูลของผู้ค้นคว้าหรือนัก
วิจัย ผู้ใช้บริการ อย่างสมคุณค่า คุณประโยชน์ การทำหน้าที่นักจดหมายเหตุอย่างถูกต้อง มีสัมมาอาชีวะเสมือนเป็นการแทนคุณแผ่นดิน และวัตถุประสงค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือเพื่อต้องการให้คนไทยและนักประวัติศาสตร์ทั่วไปได้เห็นพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กษัตริย์พระองค์แรกภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันเป็นที่เคารพรักและเทิดทูนของคนไทยเสมอมา
วิจัย ผู้ใช้บริการ อย่างสมคุณค่า คุณประโยชน์ การทำหน้าที่นักจดหมายเหตุอย่างถูกต้อง มีสัมมาอาชีวะเสมือนเป็นการแทนคุณแผ่นดิน และวัตถุประสงค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือเพื่อต้องการให้คนไทยและนักประวัติศาสตร์ทั่วไปได้เห็นพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กษัตริย์พระองค์แรกภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันเป็นที่เคารพรักและเทิดทูนของคนไทยเสมอมา
พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัย ธรรมราชา
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ระยะครองราชย์ 9 ปี
รัชกาลก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
วัดประจำรัชกาล วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (โดยอนุโลม)
พระราชสมภพ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436
สวรรคต 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 (48 พรรษา)
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชมารดา สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง
พระบรมราชินี สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
ด้านการปกครอง
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 โดยพระองค์ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจและเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงให้ตรวจตราตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญที่จะเป็นหลักในการปกครองอย่างถี่ถ้วน ทรงแก้ไขกฎหมายองคมนตรี ด้วยการออกพระราชบัญญัติองคมนตรี พ.ศ. 2470 ให้ สภากรรมการองคมนตรี มีอำนาจหน้าที่ ในการให้คำปรึกษาในการร่างกฎหมาย โดยมีพระราชดำริให้สภาองคมนตรีเป็นที่ฝึกการประชุมแบบรัฐสภา กรรมการสภาองคมนตรีอยู่ในตำแหน่งวาระละ 3 ปี
ทรงตราพระราชบัญญัติควบคุมการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 เพื่อคุ้มครองสวัสดิการของปวงชนชาวไทย โดยมีขอบเขตครอบคลุมการค้าขายที่เป็นสาธารณูปโภคและการเงิน เช่น การประปา การไฟฟ้า การรถไฟ การเดินอากาศ การชลประทาน การออมสิน และการประกันภัย อันเป็นรากฐานของระเบียบปฏิบัติ ที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้
ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรม
ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรม ในด้านวรรณกรรม โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมใน พ.ศ. 2475 พระราชทานเงินส่วนพระองค์ เป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยม และให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ การศาสนา ทรงปลูกฝังเยาวชนให้มีคุณธรรมดีงาม โดยยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โปรดเกล้าฯ ให้ราชบัณฑิตสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ซึ่งนับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงสร้างหนังสือสำหรับเด็ก ส่วนการศึกษาในเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนานั้น ทรงโปรดให้สร้างหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ เรียกว่าฉบับสยามรัฐ ชุดหนึ่ง จำนวน 42 เล่ม ซึ่งใช้สืบมาจนทุกวันนี้
ในด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติได้ทรงวางรากฐานเป็นอย่างดีกล่าวคือ ได้ทรงสถาปนาราชบัณฑิตยสถานสภาขึ้น เพื่อจัดการหอพระสมุดสำหรับพระนครและสอบสวนพิจารณาวิชาอักษรศาสตร์ เพื่อจัดการพิพิธภัณฑสถานตรวจรักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุ และเพื่อจัดการบำรุงรักษาวิชาช่างผลงานของราชบัณฑิตสภาเป็นผลดีต่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติเป็นอย่างมาก เช่น การตรวจสอบต้นฉบับเอกสารโบราณออกตีพิมพ์เผยแพร่ มีการส่งเสริมสร้างสรรค์วรรณกรรมรุ่นใหม่ด้วยการประกวดเรียบเรียงบทประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
ทรงอนุรักษ์ดนตรีไทยไว้ด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้เพราะได้ทรงสนพระราชหฤทัยในวิชาดนตรีไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงประดิษฐ์ไพเราะ เข้าถวายการฝึกสอนจนสามารถ พระราชนิพนธ์ทำนองเพลงไทยได้ ถึง 3 เพลง คือเพลง ราตรีประดับดาว (เถา) เพลงเขมรลออองค์ (เถา) และเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง
ทางด้านวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดอยุธยา โปรดเกล้าฯ ให้เขียนภาพพงศาวดาร สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ที่ผนังพระวิหาร
โปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 2471 ริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับรองบุตร อันเป็นการปลูกฝังค่านิยมแบบใหม่ทีละน้อยตามความสมัครใจ นอกจากนี้ยังทรงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างโดยทรงมีแต่พระบรมราชินีเพียงพระองค์เดียว โดยไม่ทรงมีพระสนมนางในใดๆ ทั้งสิ้น
ทรงโปรดในการถ่ายภาพนิ่งและถ่ายภาพยนตร์ แหวนวิเศษ ภาพยนตร์ทรงถ่ายมีเนื้อหาทั้งที่เป็นสารคดีและที่ให้ความบันเทิง ในจำนวนภาพยนตร์เหล่านี้ เรื่องที่เป็นเกียรติประวัติของวงการภาพยนตร์ไทยและแสดงพระราชอัจฉริยภาพดีเยี่ยมในการสร้างโครงเรื่อง กำกับภาพ ลำดับฉาก และอำนวยการแสดง ทรงทดลองใช้เอง กล้องถ่ายภาพและภาพยนตร์จำนวนมากที่ทรงสะสมไว้ สะท้อนให้เห็นพระอุปนิสัยโปรดการถ่ายภาพและภาพยนตร์ นับได้ว่าพระองค์เป็นหนึ่งในบุคคลที่บุกเบิกวงการภาพยนตร์ไทยอีกพระองค์หนึ่ง
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ในต้นรัชสมัย ได้ทรงดำเนินกิจการสำคัญที่ทรงเกี่ยวข้องกับต่างประเทศที่ค้างมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สำเร็จลุล่วงไป เช่น การให้สัตยาบันสนธิสัญญาต่างๆ นอกจากนี้ยังทรงทำสัญญาใหม่ๆ กับประเทศเยอรมนีหลังสถาปนาความสัมพันธ์ขั้นปกติ เมื่อ พ.ศ. 2471 และทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเกี่ยวกับดินแดนในลุ่มแม่น้ำโขงเรียกว่า สนธิสัญญาอินโดจีน พ.ศ. 2469 ที่ กำหนดให้ มีเขตปลอดทหาร 25 กิโลเมตร ทั้ง สองฝั่งน้ำโขง แทนที่จะมีเฉพาะฝั่งสยามแต่เพียงฝ่ายเดียว
พระบรมราชานุสรณ์
ถนนประชาธิปก เป็นถนนที่เริ่มตั้งแต่สะพานพระพุทธยอดฟ้าถึงวงเวียนใหญ่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตั้งชื่อถนนถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "ถนนพระปกเกล้า" หรือ "ถนนประชาธิปก" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าและถนนเพื่อเชื่อมฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี
สถาบันพระปกเกล้า เป็นสถาบันพัฒนาประชาธิปไตยที่จัดตั้งขึ้นในวโรกาสครบรอบ 100 ปี วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนชาวไทย โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้เชิญพระนามของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาเป็นชื่อของสถาบัน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นมหาวิทยาลัยเปิดโดยใช้ระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น "กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา" นอกจากนี้ ยังพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 นำมาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงสุโขทัยเป็นตราประจำมหาวิทยาลัยด้วย
ประวัติกระทรวงมหาดไทย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการตั้งตำแหน่งเสนาบดี 12 กระทรวง มีศักดิ์เสมอกัน และมีพระบรมราชโองการตั้งกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 และได้ทรงมอบหมายให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นองค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย งานของกระทรวงมหาดไทยในระยะเริ่มต้น จัดแบ่งเป็น 3 กรม คือ กรมมหาดไทยกลาง มีหน้าที่ทั่วไป กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ มีหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้าย และงานด้านอัยการ กรมพลำภัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่
พ.ศ. 2435 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงจัดระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคใหม่ขึ้นเรียกว่า เทศาภิบาล โดยแบ่งการปกครองเป็นมณฑล เมือง และอำเภอ ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 แบ่งโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยจึงมีโครงสร้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476 โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัด (ข้าหลวง) และนายอำเภอเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีตำแหน่งเป็นประธานคณะกรมการจังหวัด และประธานคณะกรมการอำเภอ ทั้งนี้ในส่วนท้องถิ่นซึ่งได้กำหนดให้มีการปกครองตนเองในรูปต่างๆ นั้น ก็อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยด้วย
กระทรวงมหาดไทยมีหน่วยงานรับผิดชอบแบ่งออกเป็น 12 กรม ดังนี้
1. กรมมหาดไทยกลาง มีหน้าที่ปฏิบัติราชการทุกอย่างที่มิได้แยกออกไปเป็นหน้าที่ของกรมอื่น มีปลัดทูลฉลองเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาได้ทั้งกระทรวงรองจากเสนาบดี
2. กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ มีหน้าที่ในเรื่องการรักษาพระอัยการ การสืบสวนโจรผู้ร้าย และการเรือนจำ
3. กรมพลำภัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ การรักษาบัญชี และทำหนังสือในการแต่งตั้งถอดถอนย้ายข้าราชการในหัวเมือง การทำทะเบียนสัตว์พาหนะ การทำทะเบียนอาวุธปืน การพระราชทานนามสกุล กับการก่อสร้างและรักษาสถานที่ราชการทั้งบ้านพักข้าราชการ
4. กรมสำรวจ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเลขานุการ เช่น ราชการลับ รักษาราชพัสดุ
การรับส่งหนังสือ การออกหนังสือเดินทาง ภารโรงและนักการกับราชการที่เกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศ (ยุบเลิก พ.ศ. 2468)
การรับส่งหนังสือ การออกหนังสือเดินทาง ภารโรงและนักการกับราชการที่เกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศ (ยุบเลิก พ.ศ. 2468)
5. กรมปลัดบัญชีหรือกรมตรวจการบัญชี มีหน้าที่เกี่ยวกับการบัญชีและเบิกจ่ายเงินกับถือบัญชีข้าราชการทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง (ยุบเลิก พ.ศ. 2474)
6. กรมทะเบียน มีหน้าที่ในการทำบัญชีข้าราชการกระทรวงมหาดไทยในกรุงเทพฯ และหัวเมือง ทำทะเบียนข้าราชการและทะเบียนท้องที่ การทำสำมะโนครัว การทำประวัติข้าราชการกระทรวงมหาดไทย และการเก็บหนังสือราชการ (ยุบเลิกปี พ.ศ. 2474)
7. กรมตำรวจภูธร ตั้งขึ้นแทนกรมตระเวนหัวเมือง เมื่อ พ.ศ. 2443 มีหน้าที่ตรวจจับผู้ร้ายตามหัวเมือง ต่อมา พ.ศ. 2458 รวมกรมพลตระเวนหรือตำรวจนครบาล สังกัดกระทรวงนครบาลเข้ากับกรมตำรวจภูธร เรียกชื่อว่า “กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาล” ปี พ.ศ. 2465 รัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนชื่อ “กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาลเป็น “กรมตำรวจ”
8. กรมตำรวจภูบาล ตั้งปี พ.ศ. 2456 มีหน้าที่ตรวจตราการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายการปกครองตามหัวเมืองทุกมณฑล เพื่อประกอบความรู้ของกระทรวงมหาดไทยในอันที่จะพิจารณาจัดการ แก้ไข ทะนุบำรุงกิจการต่างๆ ในหัวเมืองให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น (ทำหน้าที่ทำนองเดียวกับผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน) แต่งตั้งได้ไม่ครบปีก็ถูกยุบไปรวมกับกรมตำรวจภูธร
9. กรมพยาบาล มีหน้าที่ป้องกันโรคภัยทั่วราชอาณาจักร จัดส่งแพทย์ประกาศนียบัตรไปประจำหัวเมืองและมณฑลสำหรับรักษาโรคให้แก่ข้าราชการ นักโทษผู้ต้องขังและแนะนำวิธีรักษาพยาบาลแก่แพทย์ประจำตำบลและราษฎร
10. กรมป่าไม้ จัดตั้งปี พ.ศ. 2435 มีหน้าที่ควบคุมการป่าไม้เพื่อมิให้กงสุลต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นเรื่องการเมืองได้ และการสงวนป่าไม้สัก (ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 โอนไปสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2464
11. กรมราชโลหกิจภูมิวิทยาหรือกรมแร่ จัดตั้งปี พ.ศ. 2433 เมื่อ พ.ศ. 2435 ได้สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ แล้วโอนไปสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในปี พ.ศ. 2439 ก่อนมาสังกัดกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2442 เพื่อให้ปรับปรุงกิจการทำแร่ที่เกี่ยวข้องกับหัวเมืองให้เรียบร้อย ในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โอนกลับไปสังกัดกระทรวงเกษตราธิการอีกครั้ง ปี พ.ศ. 2452
12. กรมสรรพากรนอก เดิมขึ้นกับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ต่อมา พ.ศ. 2442 ให้โอนมาสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรและผลประโยชน์ทั้งปวงในหัวเมือง นอกจากมณฑลกรุงเทพฯ (เว้นแต่การศุลกากร) และในปี พ.ศ. 2458 ได้โอนกลับไปสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติตามเดิม
กระทรวงมหาดไทยมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนหน่วยงานในสังกัดอีกหลายครั้ง คือ
- พ.ศ. 2461 มีการจัดตั้ง กรมสาธารณสุข
- พ.ศ. 2465 โอนกรมอัยการ จากกระทรวงยุติธรรมมาสังกัดกระทรวงมหาดไทย ตามประกาศรวมการปกครองท้องที่และแบ่งปันหน้าที่ราชการระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2465
- พ.ศ. 2466 จัดตั้งกรมบัญชาการกระทรวงมหาดไทย โดยมีเสนาบดีเป็นหัวหน้าปลัดทูลฉลองเป็นผู้ช่วย และมีที่ปรึกษาเสนาบดี 1 นาย กรมนี้มีหน้าที่ควบคุมดูแลราชการทั้งกระทรวงมหาดไทย
- พ.ศ.2468 กรมสุขาภิบาล ซึ่งเดิมสังกัดกระทรวงนครบาลได้มีการแบ่งอำนาจหน้าที่ใหม่ และโอนงานบางส่วนมาขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกรมนคราทร
- พ.ศ. 2469 รับโอนงานของ แผนกราชทัณฑ์ จากกระทรวงยุติธรรมมาสังกัดกรมพลำภัง กระทรวงมหาดไทย และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกรมในภายหลัง เมื่อพ.ศ. 2476
สรุปภารกิจสำคัญพื้นฐานของกระทรวงมหาดไทย ได้ดังนี้
1. การป้องกันและการรักษาความสงบเรียบร้อยในราชอาณาจักร โดยการจัดให้มีกรมพลำภัง (กรมการปกครอง) ดูแลการปกครองท้องที่ วางรูปงานตำรวจตามมณฑลต่างๆ รวมทั้งกรุงเทพฯ เพื่อรักษาความเรียบร้อย โอนกรมอัยการจากกระทรวงยุติธรรมมาสังกัดกระทรวงมหาดไทย นอกจากนี้ยังได้มีการจัดวางระเบียบการปกครองท้องที่ใหม่ตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) ซึ่งต่อมาได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 หน้าที่นี้ถือเป็นหน้าที่หลักของกระทรวงมหาดไทยใน
การ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” มาโดยตลอด
การ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” มาโดยตลอด
2. การจัดเก็บรายได้และภาษีอากร โดยการจัดตั้งกรมป่าไม้และโอนกรมราช
โลหกิจภูมิวิทยา และกรมสรรพากรนอกมาสังกัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้สามารถหารายได้จากการป่าไม้ เหมืองแร่ ตลอดจนจัดเก็บภาษีในท้องที่ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งต่อมาหน้าที่ส่วนนี้ ส่วนหนึ่งได้ถูกโอนไปให้กระทรวงอื่นรับผิดชอบแต่กระทรวงมหาดไทยก็ยังมีบทบาทด้านนี้อยู่จนทุกวันนี้
โลหกิจภูมิวิทยา และกรมสรรพากรนอกมาสังกัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้สามารถหารายได้จากการป่าไม้ เหมืองแร่ ตลอดจนจัดเก็บภาษีในท้องที่ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งต่อมาหน้าที่ส่วนนี้ ส่วนหนึ่งได้ถูกโอนไปให้กระทรวงอื่นรับผิดชอบแต่กระทรวงมหาดไทยก็ยังมีบทบาทด้านนี้อยู่จนทุกวันนี้
3. การบริหารงานประจำและประสานงานภูมิภาค มีการปรับปรุงระบบ
การบริหารงานของกระทรวงมหาดไทยทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจนสามารถบริหารราชการในขอบเขตความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทยได้ทั่วราชอาณาจักร ตลอดจนเป็นผู้บุกเบิกงานในส่วนภูมิภาคให้กับหน่วยงานของกระทรวงอื่นๆ อีกด้วยในระยะแรกๆ
การบริหารงานของกระทรวงมหาดไทยทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจนสามารถบริหารราชการในขอบเขตความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทยได้ทั่วราชอาณาจักร ตลอดจนเป็นผู้บุกเบิกงานในส่วนภูมิภาคให้กับหน่วยงานของกระทรวงอื่นๆ อีกด้วยในระยะแรกๆ
กระทรวงมหาดไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 องค์กรของรัฐได้มีการปรับเปลี่ยนโดยมีกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นจากเดิมเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการ จึงได้เริ่มจัดให้กระทรวงบางกระทรวงมีหน้าที่เพิ่มมากขึ้น ในปีต่อมาได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรมพุทธศักราช 2476 ซึ่งสะท้อนภาพได้ชัดเจนถึงแนวทางดังกล่าว สำหรับกระทรวงมหาดไทย มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ระบุให้ “กระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่ในการปกครองรักษาความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักรและบริหารการสาธารณสุข” และได้จัดส่วนราชการภายในกระทรวงออกเป็น 10 หน่วยงาน แต่ในปีเดียวกันนั้นเองได้มีการปรับปรุงการจัดกระทรวง ทบวง กรมใหม่ โดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2476 แบ่งส่วนราชการกระทรวงมหาดไทยออกเป็น 4 หน่วยงาน
ในปี พ.ศ. 2483 ได้มีการปรับการจัดส่วนราชการของกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พุทธศักราช 2483 โดยเพิ่ม กรมอินโดจีนขึ้น อันเนื่องมาจากการเผชิญหน้ากับประเทศฝรั่งเศสในภูมิภาคอินโดจีน นอกจากนี้ยังได้มีการจัดส่วนราชการภายในกรมเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติหน้าที่
ในช่วงปี พ.ศ. 2484 - 2495 มีการปรับปรุงหน้าที่การงานในกระทรวงมหาดไทย 3 ครั้ง ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2484 (ฉบับที่ 8) พุทธศักราช 2489 เป็นผลให้ในปี พ.ศ. 2484 มีการโอนกรมประชาสงเคราะห์จากสำนักนายกรัฐมนตรี (อยู่ระหว่าง ปี พ.ศ. 2483 - 2484) มาสังกัดกระทรวงมหาดไทย ในปีเดียวกันก็โอนจากกระทรวงมหาดไทยไปสังกัดกระทรวงสาธารณสุข นอกจากนี้ยังได้โอนกรมที่ดิน จากกระทรวงเกษตราธิการกลับมาสังกัดกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2484 (เดิม “กรมที่ดิน” สังกัดกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2475 หลังจากนั้นถูกโอนไปสังกัดกระทรวงเศรษฐการและกระทรวงเกษตราธิการตามลำดับ) และในปี พ.ศ. 2484 ก็ได้มีการโอนงานด้านบริหารสาธารณสุข (กรมสาธารณสุข) ไปอยู่กระทรวงสาธารณสุขซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่
ในปี พ.ศ. 2487 ได้มีพระราชบัญญัติป้องกันภัยทางอากาศ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2487 โอนหน้าที่การป้องกันภัยทางอากาศจากกระทรวงกลาโหมมาเป็นของกระทรวงมหาดไทย และจัดตั้งกรมป้องกันภัยทางอากาศขึ้นในกระทรวงมหาดไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2489 ก็ได้โอนงานของกรมป้องกันภัยทางอากาศไปเป็นของกรมประชาสงเคราะห์ การปรับปรุงตามกฎหมายดังกล่าวทำให้อำนาจหน้าที่และการจัดองค์กรของกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลง โดยนอกจากกระทรวงมหาดไทยจะมีอำนาจหน้าที่ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน การปกครองท้องที่และการสาธารณสุข (ซึ่งได้ถูกโอนย้ายไปกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ. 2484) แล้ว ยังมีหน้าที่ด้านการสาธารณูปการ การประชาสงเคราะห์และการป้องกันภัยทางอากาศเพิ่มขึ้นมา
ปี พ.ศ. 2496 มีการออกพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2496 และยกเลิกพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2495 เพราะรัฐบาลใหม่ต้องการปรับองค์กรของหัวหน้าฝ่ายบริหารให้มีระบบและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยมีจุดเน้นของการเปลี่ยนที่สำนักนายกรัฐมนตรี ในช่วงนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนอำนาจหน้าที่และการจัดองค์กรของกระทรวงมหาดไทยอีก โดยมีการจัดตั้งกรมป้องกันสาธารณภัยขึ้นตามกฎหมายดังกล่าวในปี พ.ศ. 2496 ทำให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ “...เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ป้องกันสาธารณภัย และรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน” (มาตรา 18) ต่อมาปี พ.ศ. 2501 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2501 โดยยุบกรมป้องกันสาธารณภัยเหลือเป็นเพียงงานหนึ่งในกรมประชาสงเคราะห์
ปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลมีนโยบายมุ่งเน้นการพัฒนาชุมชน จึงได้แยกส่วนการพัฒนาชุมชนออกจากกรมมหาดไทย ตั้งเป็น “กรมการพัฒนาชุมชน” และเปลี่ยนชื่อกรมมหาดไทยเป็น กรมการปกครอง นอกจากนี้ยังได้แยกงานด้านการวางผังเมืองและผังชนบทออกจากกรมโยธาเทศบาลและจัดตั้งเป็น “สำนักผังเมือง” มีฐานะเทียบเท่ากรม
ในปี พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ บริหารประเทศโดยได้มุ่งเน้น “การพัฒนา” เป็นเหตุผลหลักของรัฐในการปกครองประเทศมากกว่า “ประชาธิปไตย” และได้มีการปรับเปลี่ยนกลไกการบริหารราชการเพื่อตอบสนองต่อเหตุผลดังกล่าวของรัฐ กระทรวงมาดไทยมีการจัดตั้งกรมแรงงาน ในปี พ.ศ. 2508 โดยยกฐานะของส่วนแรงงานกรมประชาสงเคราะห์ขึ้นเป็นกรม และในปี พ.ศ. 2510 ได้โอนสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท จากสำนักนายกรัฐมนตรีมาสังกัดกระทรวงมหาดไทย
เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2515 ได้มีการปรับปรุงการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและกระทรวง ทบวง กรมใหม่ โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 319 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยใหม่ โดยจัดตั้งสำนักนโยบายและแผนมหาดไทยขึ้น หลังจากนั้นกระทรวงมหาดไทยไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างระดับกรมอีกเกือบ 20 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2533
ในสมัยพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2533 ทั้งนี้โดยให้มีการจัดตั้งสำนักงานประกันสังคมขึ้นในกระทรวงมหาดไทย ในระยะเดียวกันนี้เอง ได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงแรงงานขึ้น กรมแรงงานมีฐานะเป็นกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงมหาดไทย การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงาน และต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2534 เห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งกระทรวงแรงงานขึ้น
กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 47 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2534 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน 2535 ตามคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งมี พลเอก สุนทร คงสมพงษ์
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะ ได้เข้าควบคุมการบริหาร ให้กรมอัยการแยกออกจากกระทรวงมหาดไทยและให้เป็นส่วนราชการอิสระ ไม่สังกัดกระทรวง ทบวง และสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้มีฐานะเป็นกรม เรียกชื่อว่า “สำนักงานอัยการสูงสุด” อยู่ภายใต้
การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2534 ฉะนั้น ฐานะของกรมอัยการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยจึงหมดสิ้นลงตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2534 เป็นต้นไป
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะ ได้เข้าควบคุมการบริหาร ให้กรมอัยการแยกออกจากกระทรวงมหาดไทยและให้เป็นส่วนราชการอิสระ ไม่สังกัดกระทรวง ทบวง และสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้มีฐานะเป็นกรม เรียกชื่อว่า “สำนักงานอัยการสูงสุด” อยู่ภายใต้
การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2534 ฉะนั้น ฐานะของกรมอัยการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยจึงหมดสิ้นลงตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2534 เป็นต้นไป
ภายหลังจากการปรับโครงสร้างของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวแล้ว คณะรัฐมนตรีโดยการนำของนายอานันท์ ปันยารชุน ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อปรับปรุงให้กฎหมายฉบับเดิมที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วหลายครั้ง เหมาะสมกับกาลสมัย เป็นปัจจุบันเพียงฉบับเดียว และสภาฯ ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2534 ตามกฎหมายใหม่นี้ กระทรวงมหาดไทยมีส่วนราชการประกอบด้วยสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี และหน่วยงานระดับกรมอีก 13 หน่วยงาน คือ
1. การไฟฟ้านครหลวง จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 1 สิงหาคม 2501 ตามพระราชบัญญัติ
การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501
การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501
2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503
3. องค์การตลาด เริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 เมื่อแรกตั้งสังกัดกรมประชาสงเคราะห์ ปี พ.ศ. 2501 ได้โอนไปสังกัดกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2505 จึงได้โอนมาสังกัดกระทรวงมหาดไทย
4. การประปานครหลวง จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2510 ตามพระราชบัญญัติ
การประปานครหลวง พ.ศ. 2510
การประปานครหลวง พ.ศ. 2510
5. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515
6. การเคหะแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2516 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515
7. การประปาส่วนภูมิภาค จัดตั้งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2522 ตามพระราชบัญญัติ
การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522
การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522
บทบาทความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน
ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยกอร์ปกับหน้าที่ที่มีอยู่ตามบทบัญญัติกฎหมายอื่นๆ สามารถสรุปขอบเขตอำนาจหน้าที่ได้ 4 ประการ คือ
1. ด้านการเมืองการปกครอง กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
การอำนวยการเลือกตังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกระดับ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การปกครอง และการบริหาร หน่วยราชการส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และการรักษาความมั่นคงของชาติ
การอำนวยการเลือกตังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกระดับ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การปกครอง และการบริหาร หน่วยราชการส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และการรักษาความมั่นคงของชาติ
2. ด้านเศรษฐกิจ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งจะต้องประสานและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับส่วนราชการต่างๆ ของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังรับผิดชอบการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร การคุ้มครองผู้เช่านา การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขนาดเล็กนอกเขตชลประทาน และการชลประทานราษฎร์ เป็นต้น
3. ด้านสังคม กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน และการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม เป็นต้น
4. ด้านการพัฒนาทางกายภาพ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
การจัดชุมชนการจัดที่ดิน การให้บริการขั้นพื้นฐานในชนบท การจัดผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ และการให้บริการสาธารณูปโภคในเขตเมือง เป็นต้น
การจัดชุมชนการจัดที่ดิน การให้บริการขั้นพื้นฐานในชนบท การจัดผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ และการให้บริการสาธารณูปโภคในเขตเมือง เป็นต้น
บทวิเคราะห์
จากการศึกษาในเนื้อหาเอกสารไมโครฟิลม์ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทยจำนวนไมโครฟิล์ม 56 ม้วน 2,471 เรื่อง 70,264 หน้า ระเบียนไมโครฟิล์มทั้งหมดของชุดเอกสารไมโครฟิล์มกระทรวงมหาดไทย มีจำนวน 2,476 รายการ สามารถวิเคราะห์จัดหมวดหมู่ตามหลักวิชาการจดหมายเหตุ โดยพิจารณาโครงสร้างการบริหารงานของกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้นประกอบ ทำให้ได้หมวดหมู่ของเอกสารจำนวน 5 หมวดหมู่ ได้แก่
1. การเมืองการปกครอง
2. เศรษฐกิจ
3. การคมนาคม
4. การสาธารณสุข
5. หนังสือพิมพ์
ตาราง : การจัดแบ่งหมวดหมู่ของเอกสารไมโครฟิล์ม รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทยตามโครงสร้างการบริหารงาน
หมวดหมู่เดิมของ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ | หมวดหมู่ตามเนื้อหา และภารกิจของกระทรวง |
1. เบ็ดเสร็จกระทรวงมหาดไทย 2. ประกาศและพระราชบัญญัติ 3. ข้าราชการ 4. กรมพลำพัง (กรมการปกครอง) .1 ตรวจราชการ .2 รายงานเหตุภยันตราย .3 ปักปันท้องที่ .4 สำมะโนครัว 5. กรมพระคชบาล 6. กรมนคราทร 8. กรมตรวจคนเข้าเมือง .1 สถิติคนเข้า-ออก 9. กรมอัยการ .1 คดี 10. กรมราชทัณฑ์ 11. กรมตำรวจภูธร นครบาล ภูบาล 14. ผู้ร้าย 16. สวนลุมพินี 18. จีน 19. กำแพงพระนคร 20. อุทกภัย วาตภัย 21. เนรเทศ 22. มีนบุรี .1 ราชการทั่วไป .2 ข้าราชการ .3 การเงิน .4 สำมะโนครัว .5 ซ่อมสร้าง .6 ตรวจราชการ .7 สัตว์พาหนะ .8 พระราชพิธีต่างๆ .9 คำร้องทุกข์. 10 สถิติและการประชุม .11 คดี 23. สมุทรปราการ 24. พระประแดง 27. นามสกุล .1 นามสกุลทหารจังหวัดต่างๆ 28. ซ่อมสร้าง 29. รายงานการฝึกอบรม 30. มณฑลพายัพ 31. ที่ดิน .1 โฉนดที่ดิน .2 กรณีพิพาท .3 แผนที่ 99. เบ็ดเตล็ด | 1. การเมืองการปกครอง 1. การเมืองการปกครอง (ต่อ) 1. การเมืองการปกครอง (ต่อ) |
12. กรมท่าขวา กรมท่าซ้าย 15. ลอตเตอรี่ | 2. เศรษฐกิจ |
17. ถนน สะพาน คลอง | 3. การคมนาคม |
7. กรมสาธารณสุข .1 โรงพยาบาล .2 การประชุม .3 โรคต่างๆ .4 การสุขาภิบาล .5 เทศบาล | 4. การสาธารณสุข |
26. หนังสือพิมพ์ .1 บันทึกข่าวเสนอเสนาบดี .2 สอบสวนข่าว .3 ขออนุญาตออกหนังสือพิมพ์ .4 บทความ .5 ข่าวหนังสือพิมพ์ ก. ต่างจังหวัด ข. จีน ค. คดี .6 หลักเมือง .7 เกราะเหล็ก .8 ไทยหนุ่ม .9 เดลิเมล์ .10 พิมพ์ไทย .11 ศรีกรุง .12 บางกอกการเมือง | 5. หนังสือพิมพ์ |
และจากการวิเคราะห์เนื้อหาตามหัวเรื่องของเอกสารไมโครฟิล์มกระทรวงมหาดไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องสะท้อนถึงหมวดการเมืองการปกครองมากที่สุด รองลงมาคือหมวดหนังสือพิมพ์ หมวดการสาธารณสุข หมวดการคมนาคม และหมวดเศรษฐกิจ รายละเอียดดังนี้
1. การเมืองการปกครอง จำนวน 1,514 เรื่อง
2. เศรษฐกิจ จำนวน 8 เรื่อง
3. การคมนาคม จำนวน 33 เรื่อง
4. การสาธารณสุข จำนวน 56 เรื่อง
5. หนังสือพิมพ์ จำนวน 865 เรื่อง
การวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารตามหมวดหมู่
หมวดที่ 1 การเมืองการปกครอง
ในสมัยรัชกาลที่ 7 มีที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้น 5 สภา ได้แก่
1. อภิรัฐมนตรีสภา เป็นสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งทรงพระปรีชาสามารถและมีความชำนาญในงานราชการมาแต่ก่อน 5 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จฯเจ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำราราชานุภาพ สมเด็จฯ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
2. องคมนตรีสภา ช่วยทำหน้าที่บริหารประเทศ คล้ายกับรัฐสภาในปัจจุบัน สมาชิกประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ มีความสามารถเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ทำหน้าที่เสนอ
ความคิดเห็นในเรื่องราชการแผ่นดิน วินิจฉัยเรื่องต่างๆ ที่ทรงปรึกษา
ความคิดเห็นในเรื่องราชการแผ่นดิน วินิจฉัยเรื่องต่างๆ ที่ทรงปรึกษา
3. เสนาบดีสภา ประกอบด้วยเสนาบดีประจำกระทรวง ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือเกี่ยวกับราชการกระทรวงต่างๆ
4. สภาป้องกันพระราชอาณาจักร ทำหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับกระทรวงต่างๆ คือ กระทรวงกลาโหม ทหารเรือ กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อป้องกันประเทศ
5. สภาการคลัง มีหน้าตรวจตรางบประมาณแผ่นดิน และรักษาผลประโยชน์การเงินของประเทศ
และมีการจัดการปกครอง ดังนี้
1. การปกครองส่วนกลาง เนื่องจากในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ฐานะทางการเงินภายในประเทศตกต่ำอันเป็นผลมาจากเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัชกาลที่ 7 จึงทรงแก้ปัญหานี้โดยใช้นโยบายดุลยภาพ คือ การตัดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็น จัดงานและคนให้สมดุลกันแบะยุบตำแหน่งราชการที่ซ้ำซ้อนกัน ในการบริหารราชการส่วนกลาง เดิมสมัยรัชกาลที่ 6 มีกระทรวง 12 กระทรวง (โดยเพิ่ม 2 กระทรวง จาก 10 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ กระทรวงทหารเรือ และกระทรวงพาณิชย์) คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงทหารเรือ กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงวัง กระทรวงเมือง(นครบาล) กระทรวง
เกษตราธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงพาณิชย์
เกษตราธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงพาณิชย์
รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้มีการแก้ไขปรับปรุงโดยยุบกระทรวงทหารเรือไปรวมกับกระทรวงกลาโหม และรวมกระทรวงโยธาธิการกับกระทรวงพาณิชย์เข้าด้วยกัน จึงเหลือเพียง 10 กระทรวง
2. การปกครองส่วนภูมิภาค ด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจเช่นเดียวกับการปกครองส่วนกลาง รัชกาลที่ 7 ทรงใช้นโยบายดุลยภาพโดยยุบเลิกตำแหน่งปลัดมณฑล ตำแหน่งอุปราชประจำภาค ยุบเลิกมณฑลบางมณฑล บางจังหวัดให้ลดฐานะเป็นอำเภอตามความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น เช่น ยุบจังหวัดพระประแดง หลังสวน มีนบุรี สายบุรี ธัญบุรี ตะกั่วป่า หล่มสัก และรวมสุโขทัยเข้ากับสวรรคโลก เป็นต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ทรงเริ่มทดลองการปกครองแบบเทศบาล เพื่อให้ราษฎรได้เรียนรู้การปกครองตนเอง ทรงตราพระราชบัญญัติการจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก เมื่อ พ.ศ.2469 โดยจัดตั้งสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลตะวันตก มีอาณาเขตตั้งแต่ตำบลชะอำไปถึงหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การปกครองแบบเทศบาลนี้มีผลดี คือ เป็นการฝึกหัดให้ประชาชนเกิดความชำนาญในการปกครองตนเอง อันเป็นการปูพื้นฐานไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยในอนาคต
ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 นี้มีการใช้พระราชบัญญัติมากมาย อาทิ
1. พระราชบัญญัติภาษีเงินเดือน พ.ศ. 2475
2. พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พ.ศ. 2475
3. พระราชบัญญัติภาษีการค้า พ.ศ. 2475
4. พระราชบัญญัติอากรแสตมป์ พ.ศ. 2475
5. พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475
6. พระราชบัญญัติภาษีการธนาคารและประกันภัย พ.ศ. 2476
7. พระราชบัญญัติภาษีอากรมรดกและอากรทางรับมรดก พ.ศ. 2476
8. พระราชบัญญัติรัชชูปการ พ.ศ. 2468
9. พระราชบัญญัติลักษณะเก็บเงินค่านา ร.ศ. 119
10. พระราชบัญญัติลักษณะการเก็บภาษีค่าที่ไร่อ้อย พ.ศ. 2464
11. พระราชบัญญัติเปลี่ยนวิธีเก็บภาษียา ร.ศ. 119
12. ประกาศพระราชทานยกเลิกอากร สวนใหญ่ค้างเก่าและเดินสำรวจต้นผลไม้ใหม่สำหรับเก็บเงินอากรสวนใหญ่ ร.ศ. 130
13. พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พ.ศ. 2475
14. พระราชบัญญัติภาษีการค้า พ.ศ. 2475
15. พระราชบัญญัติภาษีการธนาคารและการประกันภัย พ.ศ. 2476
16. พระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่น
17. ประกาศจัดเก็บภาษีเรือ โรงร้าน ตึก แพ
18. พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน
19. พระราชบัญญัติเงินช่วยชาติการประถมศึกษา
20. พระราชบัญญัติเงินช่วยชาติภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
21. พระราชบัญญัติเงินช่วยชาติภาษีโรงค้า
22. พระราชบัญญัติเงินช่วยชาติจากการซื้อข้าว
23. พระราชบัญญัติเงินช่วยชาติอากรแสตมป์
24. พระราชบัญญัติเงินช่วยชาติอากรมหรสพ
25. พระราชบัญญัติเงินช่วยชาติอากรโรงแรม ภัตตาคาร
26. พระราชบัญญัติอากรฆ่าสัตว์
ซึ่งในเอกสารไมโครฟิล์มรัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทยพบพระราชบัญญัติที่ใช้ ดังนี้
พระราชบัญญัติรถยนต์
พระราชบัญญัติรถลาก
พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว
พระราชบัญญัติว่าด้วยสมุดเอกสารและหนังสือพิมพ์
พระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ.2473
พระราชบัญญัติภาษีภายใน
พระราชบัญญัติสำหรับตรวจป้องกันโรคสัตว์พาหนะร.ศ.119
พระราชบัญญัติโรงรับจำนำแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2474
พระราชบัญญัติว่าด้วยคนเข้าเมือง
พระราชบัญญัติระงับโรคระบาด
พระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษ พ.ศ.2456
พระราชบัญญัติเทศาภิบาล
ร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิธีการจัดเก็บรักษาน้ำมัน
ร่างพระราชบัญญัติลักษณะฆ่าโคกระบือและสุกร
ร่างพระราชบัญญัติการก่อสร้างและการแผนผัง
สำหรับเอกสารไมโครฟิล์มในหมวดการเมืองการปกครองนี้มีเรื่องที่เกี่ยวกับนามสกุลของคนไทย คนจีน คนในบังคับ รวมถึงทหารและตำรวจในเขตพระนคร ธนบุรีและจังหวัดใกล้เคียง โดยบุคคลต่างๆ ดังกล่าวเข้ามาดำเนินการขอมีนามสกุล เปลี่ยนแปลงและแก้ไขนามสกุลของตนเองและเครือญาติ เพื่อใช้ในครอบครัว การเรียนหนังสือของบุตรหลาน
การเลิกใช้แซ่ รวมทั้งการเพิ่มนามสกุลในทะเบียนของทางราชการ โดยเป็นไปตามพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พุทธศักราช 2468 ทั้งนี้การดำเนินการขอมีนามสกุล เปลี่ยนแปลงแก้ไขนามสกุลนั้น จะต้องไม่เป็นคำพ้องกับนามสกุลพระราชทาน หรือซ้ำกับนามสกุลของบุคคลอื่น ไม่เป็นคำต้องห้าม หรือผิดหลักเกณฑ์ข้อกฎหมาย เช่น นามสกุลของมารดาจะไม่ให้ใช้แต่สมควรใช้นามสกุลของบิดา บัญชีรายชื่อนามสกุลกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งระบบให้ประชาชนคนไทยทุกคนจดชื่อในทะเบียนบ้าน
การเลิกใช้แซ่ รวมทั้งการเพิ่มนามสกุลในทะเบียนของทางราชการ โดยเป็นไปตามพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พุทธศักราช 2468 ทั้งนี้การดำเนินการขอมีนามสกุล เปลี่ยนแปลงแก้ไขนามสกุลนั้น จะต้องไม่เป็นคำพ้องกับนามสกุลพระราชทาน หรือซ้ำกับนามสกุลของบุคคลอื่น ไม่เป็นคำต้องห้าม หรือผิดหลักเกณฑ์ข้อกฎหมาย เช่น นามสกุลของมารดาจะไม่ให้ใช้แต่สมควรใช้นามสกุลของบิดา บัญชีรายชื่อนามสกุลกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งระบบให้ประชาชนคนไทยทุกคนจดชื่อในทะเบียนบ้าน
พ.ศ.2466 กระทรวงมหาดไทยคุมกรมต่างๆ รวมทั้งตำรวจ สาธารณสุข ป่าไม้ กิจการด้านสาธารณูปโภค ศาล การท่าเรือ ระบบราชการในเขตหัวเมืองเป็นระบบการควบคุมมีลักษณะเป็นปิรามิดสามเหลี่ยมลงไปถึงระดับหมู่บ้าน มีการก่อตั้งตำรวจภูธร ระบบการสำรวจที่ดิน ดูแลการชลประทาน จัดการระบบโรงเรียนและการศาลท้องถิ่น
การปกครองในสมัยนั้นเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ รัชกาลที่ 7 ทรงมีความห่วงใยพสกนิกรอย่างมาก ในรัชสมัยของพระองค์ สยามได้นำระบบไปรษณีย์และโทรเลขมาใช้ เริ่มมีการสร้างสนามบินดอนเมือง แต่เนื่องจากสมัยนี้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลกเนื่องจากเป็นระยะเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศสยามในยุคสมัยนั้นก็รับผลกระทบของโลกไปตามด้วย
เอกสารอยู่ภายใต้หมวดหมู่นี้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเอกสารชุดนี้เป็นเอกสารของกระทรวงมหาดไทยที่มีภารกิจหลักในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัยและการพัฒนาเมือง
หมวดที่ 2 เศรษฐกิจ
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้สภาพเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในช่วงภาวะคับขัน ปัญหาเศรษฐกิจนี้เป็นตัวเร่งตัวหนึ่งที่ทำให้ปัญหาทั้งหลายที่เดิมมีอยู่แล้วเริ่มก่อตัวขึ้นจนถึงจุดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ซึ่งกล่าวได้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลง
การปกครองที่สำคัญมากในประวัติศาสตร์ไทย กระทรวงมหาดไทยขอตั้งค่าใช้จ่ายในการปราบปรามโจรผู้ร้าย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายใหม่ เพื่อเพิ่มเป็นค่าสินบนในการตามจับโจรผู้ร้าย เพิ่มค่าก่อสร้างสถานที่ราชการตามหัวเมือง กรมเจ้าท่า ขอเพิ่มค่าต่อเรือใหม่แทนเรือกลางเพื่อใช้เป็นเรือหลวง กรมนคราทร ขอค่าราดยางถนน แผนกราชทัณฑ์ ขอค่าสร้างคุกบางขวาง และสร้างเรือนจำหัวเมือง กรมชลประทาน ขอค่าขุดคลองและทำประตูน้ำ
การปกครองที่สำคัญมากในประวัติศาสตร์ไทย กระทรวงมหาดไทยขอตั้งค่าใช้จ่ายในการปราบปรามโจรผู้ร้าย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายใหม่ เพื่อเพิ่มเป็นค่าสินบนในการตามจับโจรผู้ร้าย เพิ่มค่าก่อสร้างสถานที่ราชการตามหัวเมือง กรมเจ้าท่า ขอเพิ่มค่าต่อเรือใหม่แทนเรือกลางเพื่อใช้เป็นเรือหลวง กรมนคราทร ขอค่าราดยางถนน แผนกราชทัณฑ์ ขอค่าสร้างคุกบางขวาง และสร้างเรือนจำหัวเมือง กรมชลประทาน ขอค่าขุดคลองและทำประตูน้ำ
ในปี 2475 ลดเงินเดือนข้าราชการ กระทรวงมหาดไทย กรมสาธารณสุข ลดค่ายา
ค่าเล่าเรียนนักเรียนต่างประเทศ ลดค่าตรวจค้นเรื่องยุงและไข้จับสั่น
ค่าเล่าเรียนนักเรียนต่างประเทศ ลดค่าตรวจค้นเรื่องยุงและไข้จับสั่น
กรมนคราทรได้ลดฐานะลงเป็นกรมชั้น เจ้ากรมและขึ้นกับพระสมุหพระนครบาล สามารถลดงบประมาณประจำลง
เอกสารจดหมายเหตุไมโครฟิล์มรัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย สามารถแสดงให้เห็นถึงเรื่องของเศรษฐกิจได้เด่นชัดแต่มีเป็นจำนวนน้อย อาทิ การมีงบประมาณที่จำกัดก็สะท้อนได้จากปรับเปลี่ยนโยกย้ายข้าราชการ การยุบรวมกระทรวงหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารอันเนื่องมาจากภาวะรายได้ของประเทศที่ตกต่ำ ซึ่งเป็นพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทำให้ประเทศชาติผ่านพ้นวิกฤตนั้นมาได้
เอกสารบางเรื่องของกระทรวงมหาดไทยในชุดนี้ เช่น เรื่องของการทำลายกำแพงเมืองเพื่อสร้างห้าง ร้านค้า ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยก็สามารถสะท้อนให้เห็นเรื่องการเศรษฐกิจได้ด้วยเช่นกัน เพราะบางฉบับไม่มีบรมราชานุญาตหากทำลายกำแพงเมืองเพียงเพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัย
นอกจากนี้เรื่องของการบริหารงานของกรมท่าขวา กรมท่าซ้าย ก็เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศซึ่งมีความสัมพันธ์กับเรื่องของการคมนาคมด้วย อาทิเช่น การเดินเรือระหว่างสยามและจีน ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทยคือการขอให้ดูแลเรื่องโจรสลัด เรื่องบริษัทต่างชาติซื้อกิจการ (ไม้ขีดไฟ) เรื่องของล็อตเตอรี่ เรื่องของการตกข้าว เรื่องของการทอผ้า มีการรายงานบัญชีแสดงการจำหน่ายล็อตเตอรี่ ซึ่งกรมท่าอยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น
หมวดที่ 3 การคมนาคม
เนื้อหาของเอกสารไมโครฟิล์ม รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ในหมวดหมู่
การคมนาคมนี้ สามารถแสดงให้เห็นภารกิจของกระทรวง ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อเกี่ยวกับ
การซ่อมสร้างถนน สะพาน คลอง เพื่อการคมนาคมขนส่งซึ่งถือเป็นการคมนาคมหลักในสมัยนั้น ซึ่งไม่รวมการสื่อสารเข้ามาด้วย ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีกิจการสาธารณูปโภคหลายอย่างที่เอกชนดำเนินการ เช่น การเดินรถไฟ การเดินทาง การเดินรถยนต์โดยสาร การบริการขนส่งสินค้า การไฟฟ้า การประปา เป็นต้น
การคมนาคมนี้ สามารถแสดงให้เห็นภารกิจของกระทรวง ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อเกี่ยวกับ
การซ่อมสร้างถนน สะพาน คลอง เพื่อการคมนาคมขนส่งซึ่งถือเป็นการคมนาคมหลักในสมัยนั้น ซึ่งไม่รวมการสื่อสารเข้ามาด้วย ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีกิจการสาธารณูปโภคหลายอย่างที่เอกชนดำเนินการ เช่น การเดินรถไฟ การเดินทาง การเดินรถยนต์โดยสาร การบริการขนส่งสินค้า การไฟฟ้า การประปา เป็นต้น
รถรางอยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย เพราะเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น จะเห็นว่ามีพระราชบัญญัติต่างๆเกี่ยวกับยานพาหนะ เช่น พระราชบัญญัติรถลาก ร.ศ.120 พระราชบัญญัติรถจ้าง ร.ศ.124 พระราชบัญญัติขนาดเกวียน 2459 พระราชบัญญัติล้อเลื่อน 2460 พระราชบัญญัติล้อเลื่อน 2469 เป็นต้น โดยการประกาศใช้พระราชบัญญัติเกี่ยวกับยานพาหนะเหล่านี้ จะประกาศใช้เป็นแห่งๆ พิจารณาจากถนนที่สะดวกแล้ว และความหนาแน่นของการจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนนที่มีมากขึ้น เพื่อควบคุม และป้องกันอันตรายอันเกิดแก่ร่างกายและทรัพย์สิน และเพื่อสะดวกต่อการควบคุม
การซ่อมสร้าง ถนน มีจำนวนเอกสารไม่มาก ทั้งมีถนนเชื่อมจังหวัด ถนนที่ส่วนเอกชนสร้างขึ้น อาจเป็นเพราะภาวะเศรษฐกิจในสมัยนั้นและระยะเวลาของการครองราชย์ และเอกสารส่วนใหญ่น่าจะอยู่ที่กระทรวงอื่นๆ ในสมัยนั้น
เอกสารที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือเรื่องปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพุทธ) แต่รายละเอียดของการสร้างสะพานจะไม่พบในชุดเอกสารไมโครฟิล์ม รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทยได้ครบไทยทั้งหมด มีการออกประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อตัดขยายถนนฝั่งธนบุรีและพระนครเนื่องในการสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า เป็นต้น
หมวดที่ 4 การสาธารณสุข
เนื้อหาของเอกสารเอกสารไมโครฟิล์ม รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ในหมวดหมู่การสาธารณสุขเกี่ยวกับเรื่องของการแพทย์ มีการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาการสาธารณสุขประจำชาติ พบว่ากระทรวงมหาดไทยมีภารกิจในการมอบหนังสือคู่มือการปกครองสาธารณสุขเป็นหลักวิธีการดำเนินการสาธารสุขแก่จังหวัดต่างๆ และเนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวของกับการสาธารณสุขทั่วไป อาทิเช่น การพยาบาล โรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เช่น ไข้ทรพิษ อหิวาตกโรค โรคระบาดต่างๆ ทั่วประเทศ
มีการใช้พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการสาธารณสุขต่างๆ ในสมัยการปกครองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้านี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าพระองค์ทรงห่วงใยให้ความสำคัญเรื่องของสุขภาพอนามัยของราษฎรอย่างทั่วถึง ซึ่งพระราชบัญญัติที่มีการใช้ในสมัยนี้ได้แก่พระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษ พระราชบัญญัติสำหรับตรวจป้องกันโรคสัตว์พาหนะร.ศ.119 พระราชบัญญัติระงับโรคระบาด พระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษ พ.ศ.2456 และ พระราชบัญญัติเทศาภิบาล มีการร่างพระราชบัญญัติลักษณะฆ่าโคกระบือและสุกร
การสุขาภิบาล มี โอสถสภาหรือสถานีอามัยขนาดเล็กตามจังหวัดต่างๆ และมีการสร้างโอสถสภา (สถานีอานามัย) เป็นบรมราชานุสรณ์ขึ้นที่จังหวัดสระบุรีนามว่า ”โอสถาสภาปัญจมาธิราชอุทิศ ” มีเรื่องการอนุญาตก่อสร้างโรงพยาบาลกลาง กรมสาธารณสุข เป็นต้น
หมวดที่ 5 หนังสือพิมพ์
หมวดหนังสือพิมพ์มีเป็นจำนวนมากหากจัดหมวดหมู่ตามเนื้อหาแล้ว จะทำให้เกิดหมวดหมู่ที่หลากหลาย คณะทำงานพิจารณากัน อย่างถ้วนถี่ พร้อมได้พิจารณาไปยังชุดเอกสารกระทรวงอื่นๆประกอบซึ่งก็ได้มีการทำกฤตภาค (การตัดข่าว) พร้อมใช้หลักวิชาการจดหมายเหตุที่ยึดในเนื้อหาของเอกสารซึ่งจะแตกต่างกับการจัดหมวดหมู่ตามวิชาบรรณารักษ์ ดังนั้นจึงได้จัดหมวดหมู่หนังสือพิมพ์ขึ้นมาในเอกสารไมโครฟิล์มรัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย
หนังสือพิมพ์คือสื่อสารมวลชนไทยประเภทหนึ่ง วิวัฒนาการของหนังสือพิมพ์ไทยเติบโตไปตามภาวะความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมประกอบกับหนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานปรัชญาของการต่อสู้ทางอุดมการณ์หนังสือพิมพ์เป็นเสมือนกลไกหรือเครื่องมือสำคัญ ที่มีส่วนผลักดันเปลี่ยนแปลงสภาพการเมืองการปกครองและสังคมของไทยเสมอมา
การศึกษาวิวัฒนาการของหนังสือพิมพ์ไทยในแต่ละยุค จึงจะเป็นต้องพิจารณาบริบทต่างๆที่แวดล้อมหนังสือพิมพ์ในแต่ละยุคควบคู่ไปด้วย บริบทเหล่านี้ได้แก่ บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม และอุดมการณ์ความคิดทางวิชาชีพหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์จัดเป็นสื่อที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อมวลชนประเภทอื่น
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 สืบเนื่องถึงช่วงหลังปี พ.ศ.2475 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นยุคที่มีการรับรองสิทธิเสรีภาพในการพูด การเขียน และการโฆษณา (มาตรา 14 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475) แก่ประชาชนเป็นครั้งแรกและ ในสมัยนี้กิจการพิมพ์และหนังสือพิมพ์เจริญขึ้นตามลำดับมีหนังสือพิมพ์จำนวน 55 ฉบับ น่าจะเป็น เพราะมีผู้รู้หนังสือเพิ่มมากขึ้น หนังสือพิมพ์มีบทบาทสำคัญยิ่งในการเป็นสื่อสารกลางการติดต่อระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ความคิดในหนังสือพิมพ์สมัยนั้น มาจากทั้งกลุ่มคนที่มีโอกาสได้รับการศึกษา ความคิดเห็นของกลุ่มนี้ไม่จำเป็นที่รัฐบาลจะนำมาปฏิบัติเสมอไป แต่ความคิดเห็นของความคิดของกลุ่มนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เป็นแนวคิด จากฝ่ายประชาชน หนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 แสดงให้เห็นว่ามีประชาชนได้มี
ความพยายามให้แนวทางในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ นั้นชี้ให้เห็นว่า ประชาชนเริ่มตื่นตัวมีปฏิกิริยาต่อสภาวะที่กำลังเผอิญอยู่ หนังสือพิมพ์จึงเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลสถาบันหนึ่งจนได้สมญาว่า“ฐานันดรที่สี่”
ความพยายามให้แนวทางในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ นั้นชี้ให้เห็นว่า ประชาชนเริ่มตื่นตัวมีปฏิกิริยาต่อสภาวะที่กำลังเผอิญอยู่ หนังสือพิมพ์จึงเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลสถาบันหนึ่งจนได้สมญาว่า“ฐานันดรที่สี่”
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง สถานการณ์ทางการเมืองที่มีการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจระหว่างกลุ่มเจ้านายและคณะราษฎร ทำให้หนังสือพิมพ์เริ่มแบ่งเป็นฝักฝ่าย คือ ฝ่ายอิสระ ฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายนิยมกษัตริย์ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติสมุดเอกสารและหนังสือพิมพ์ แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2475 เพื่อควบคุมหนังสือพิมพ์อย่างเคร่งครับ มีการตรวจข่าวก่อนนำลงตีพิมพ์ แต่หนังสือพิมพ์หลายฉบับก็ไม่ได้เกรงกลัว จึงมีหนังสือพิมพ์ถูกสั่งปิดในสมัยนี้หลายฉบับ
ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2476 ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติสมุดเอกสารและหนังสือพิมพ์ 2470 และ 2475 พระราชบัญญัติใหม่นี้กำหนดบทบัญญัติควบคุมหนังสื่อพิมพ์โดยกำหนดวุฒิการศึกษาของบรรณาธิการต้องสอบไล่ชั้นประโยคมัธยมบริบูรณ์หรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ซึ่งมีวิทยาฐานะอันมีคณะกรรมการซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยไม่ต่ำกว่า 3 นาย กฎหมายฉบับนี้ต้องการให้หนังสือพิมพ์มีมาตรฐาน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการควบคุมจำนวนหนังสือพิมพ์ไปด้วยในตัว ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2481-2487) มีการตราพระราชทานการพิมพ์ พุทธศักราช 2484
รายชื่อหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ที่ออกในสมัยรัชกาลที่ 7
ชื่อหนังสือพิมพ์ | เจ้าของ | ปีที่เริ่มพิมพ์ | ปีที่เลิกกิจการ |
1. ข่าวด่วน 2. เกราะเหล็ก 3. ปากกาไทย 4. ศรีกรุง 5. ไทยหนุ่ม 6. ตุ๊กตา 7. ข่าวเสด็จมณฑลพายัพ 8. รวมข่าว 9. ข่าวสด 10.หลักเมือง 11.อีดิสอิ๊ด 12.กัมมันโต 13.ช่วยเพื่อน 14.ข่าวชุมนุมลูกเสือสยาม 15.หญิงสาว 16.ข่าวสารสภากาชาดสยาม 17.ราษฎร 18.ข่าวโฆษณาสวนสนุก 19.ธงชัย 20.เจริญกรุง 21.ไทยใหม่ 22.อิสสระ 23.หญิงสยาม 24.บำรุงเมือง 25.เดลิเมล์ฉบับผนวก 26.ไทยฉบับอุปกรณ์ (พิมพ์ไทย) 27.สยามตรีบูรณ์ 28.สุริยา 29.หนุ่มสยาม 30.รักษ์สยาม 31.กรุงเทพฯ วารศัพท์ 32.กรรมการ 33.ความเห็นราษฎร 34.ช่วยกรรมกร 35.ชาติไทย 36.ไตรรงค์ 37.ไทยน้อย 38.ประชาชาติ 39.๒๔ มิถุนา 40.สจฺจํ ฯ 41.สมัยราษฎร์ 42.สยามรัฐ 43.สยามหนุ่ม 44.สยามใหม่ 45.๑๐ ธันวาคม 46.เฉลิมรัฐธรรมนูญ 47.เสรีภาพ 48.หญิงไทย 49.เฉลิมประเทศ 50.เฉลิมรัฐธรรมนูญ 51.ไทยเมือง 52.ราษฎร์ตรีบูรณ์ 53.วันดี 54.สาวสยาม 55.หนุ่มไทย | นายแตงโม วันทวิมท์ นายศิลป์ สุมานันท์ นายถวัติ ฤทธิเดช The Srikrung Press นายหอม นิลรัตน์ ณ อยุธยา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร นายอินทร สิงหเนตร บริษัทรวมข่าว โรงเรียนมัธยมวัดสระเกศ นาย ต. บุญเทียม คณะคลองส้มป่อย กัมมันโตสหกรณ์ นายวุฒิ ศุทธบรรสาน หลวงวิศาลดรุณกร นางทรัพย์ อังกินันทน์ รองอำมาตย์โท ขุนจำนงพิทยประสาท นายใช้ บัวบูรณ์ - นายประจง ชลวิจารณ์ นาย ต. บุญเทียม นายบันจง ศรีสุชาติ นาย ต. บุญเทียม - - บริษัทสยามฟรีเปรส จมื่นเทพดรุณทร นางทรัพย์ อังกินันทน์ บริษัทไทยใหม่ จำกัด บริษัทบางกอกการเมือง จำกัด นางเนิน ชื่นสุวรรณ บริษัทเผยแพร่วิทยาการ หลวงพาหิรวาทกิจ - บริษัทหนังสือพิมพ์ช่วยกรรมกร นายโพยม บุญยะศาสตร์ บริษัทซิวตัน หลวงอนุรักษ์รัถการ บริษัทประชาชาติ จำกัด นายสงวน ตุลารักษ์ นายทองคำ โรหิตศิริ นางละมุล จันทาทับ นายกุหลาบ นพรัตน์ นายบุญ ธัชประมุข นายเชงจุ๊ย ลือประเสริฐ นายหรุ่น อินทุวงศ์ สมาคมคณะราษฎร์ บริษัทสยามฟรีเปรส นางทรัพย์ อังกินันทน์ นายกิมเส็ง ประสังสิต คณะกรรมาธิการจัดงานมหกรรม ในงานฉลองรัฐธรรมนูญ นายทองอยู่ สุดออมสิน ชะเอม อันทรเสน นางทรัพย์ อังกินันทน์ บันลูน เปี่ยมพงษ์สานต์ น.ส. นวลฉวี เทพวัลย์ | 2468 2468 2468 2469 2469 2469 2469 2469 2469 2470 2470 2470 2470 2470 2470 2471 2471 2472 2472 2472 2473 2473 2473 2473 2474 2474 2474 2474 2474 2474 2475 2475 2475 2475 2475 2475 2475 2475 2475 2475 2475 2475 2475 2475 2475 2475 2475 2475 2476 2476 2476 2476 2476 2476 | 2468 2472 2470 2476 2470 2469 2470 2469 2471 2470 2470 2473 2471 2474 2471 2473 2473 2473 2474 |
รายชื่อหนังสือพิมพ์ที่ไม่พบเอกสารการขออนุญาตออกหนังสือพิมพ์ ในเอกสารจดหมายเหตุรัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย คือ
1. ๑๐ ธันวาคม
2. ๒๔ มิถุนา
3. กรรมการ
4. กรุงเทพฯ วารศัพท์
5. ข่าวโฆษณาสวนสนุก
6. ข่าวชุมนุมลูกเสือสยาม
7. ข่าวด่วน
8. ข่าวสด
9. ข่าวสารสภากาชาดสยาม
10. ข่าวเสด็จมณฑลพายัพ
11. ความเห็นราษฎร
12. เจริญกรุง
13. เฉลิมประเทศ
14. เฉลิมรัฐธรรมนูญ
15. เฉลิมรัฐธรรมนูญ
16. ช่วยกรรมกร
17. ช่วยเพื่อน
18. ชาติไทย
19. ไทยน้อย
20. ไทยเมือง
21. ไทยใหม่
22. ธงชัย
23. บำรุงเมือง
24. ประชาชาติ
25. ปากกาไทย
26. รักษ์สยาม
27. ราษฎร์ตรีบูรณ์
28. วันดี
29. สจฺจํ ฯ
30. สมัยราษฎร์
31. สยามตรีบูรณ์
32. สยามหนุ่ม
33. สยามใหม่
34. สยามรัฐ
35. สาวสยาม
36. สุริยา
37. เสรีภาพ
38. หญิงไทย
39. หญิงสยาม
40. หนุ่มไทย
41. หนุ่มสยาม
42. อิสสระ
43. อีดิสอิ๊ด
รายชื่อหนังสือพิมพ์ที่พบในเอกสารจดหมายเหตุ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีการสรุปข่าวและตัดข่าวเสนอเสนาบดี ได้แก่
1.กรุงเทพฯ เดลิเมล์
2.เกราะเหล็ก
3.เดลิเมล์
4.ไทยหนุ่ม
5.บางกอกการเมือง
6.พิมพ์ไทย
7.ศรีกรุง
8.หลักเมือง
9.ราษฎร
10.เสียงสยาม
11.ไทยเขษมรวมข่าว
12.สยามโฟแทกซ์
13.สยามออฟเซอร์เวอร์
14.สาส์นพระนคร
15.สยามรีวิว
16.หนังสือพิมพ์จีน: กัวมินยิดป่อ
17 หนังสือพิมพ์จีน: ตงฮั้วมิ่นป่อ
18. หนังสือพิมพ์จีน: ฮั่วเคี้ยวยิดป่อ
19.หนังสือพิมพ์จีน: ฮั่วเฉียวเยาะเป้า
20.หนังสือพิมพ์จีน: ฮั่วเซียมซินป่อ
21.หนังสือพิมพ์จีน: ฮั่วมินป่อ
เนื้อหาสาระของหนังสือพิมพ์ของกระทรวงมหาดไทยที่ตัดเก็บข่าว ส่วนใหญ่เป็นเรื่องพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับภารกิจของกระทรวง และมีข่าวที่เป็นข่าวของบ้านเมือง
การรายงานข่าวการทำงานของเจ้าหน้าที่ ข่าวดังประจำจังหวัดต่างๆ และมีข่าวต่างประเทศบ้าง
การรายงานข่าวการทำงานของเจ้าหน้าที่ ข่าวดังประจำจังหวัดต่างๆ และมีข่าวต่างประเทศบ้าง
บรรณนิทัศน์ (Annotation)
บรรณนิทัศน์ คือ การบอกกล่าวให้ทราบโดยย่อถึงสาระหรือเนื้อเรื่องของเอกสาร เป็นเครื่องมือช่วยการตัดสินใจเลือกใช้เอกสารหรือหนังสือ เพื่อบ่งชี้ถึงคุณค่าของเนื้อหาสาระของเอกสารนั้นๆ หรือเป็นการแนะนำให้ผู้อ่านทราบเกี่ยวกับเนื้อหาของเอกสารนั้นอย่างย่อๆ และเรียบเรียงข้อความนั้นโดยต้องใช้ถ้อยคำที่กระชับประหยัดถ้อยคำและให้กินความมากที่สุด สำหรับบรรณนิทัศน์เอกสารไมโครฟิล์มรัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทยฉบับนี้จัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้ค้นคว้า ได้ทราบในบทสรุปของเนื้อหาสาระสำคัญตามการจัดแบ่งหมวดหมู่ที่ได้วิเคราะห์เนื้อหาสาระของเอกสารชุดนี้ไว้ 5 หมวด ได้แก่ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ การคมนาคม
การสาธารณสุขและหนังสือพิมพ์
การสาธารณสุขและหนังสือพิมพ์
บรรณนิทัศน์ : การเมืองการปกครอง
สาระสำคัญของเอกสารไมโครฟิล์มรัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทยในหมวดการเมืองการปกครองเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไปของกระทรวงตามภารกิจหน้าที่
ความรับผิดชอบ การออกประกาศและตราพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง ซึ่งพระราชบัญญัติที่ตราขึ้นใหม่ในรัชสมัยนี้คือ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ.2473 นอกจากนี้เอกสารในหมวดนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารราชการในส่วนกลางของกรมต่างๆ ที่อยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น ได้แก่ กรมพลำพัง (กรม
การปกครอง) กรมพระคชบาล กรมนคราทร กรมตรวจคนเข้าเมือง กรมอัยการ กรมราชทัณฑ์ และ กรมตำรวจภูธร นครบาล ภูบาล การบริหารราชการในส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดมีนบุรี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดพระประแดง เอกสารในหมวดนี้ยังมีข้อมูลเรื่องอื่นๆ ที่น่าศึกษา ค้นคว้า วิจัยอีกหลายหัวข้อ ประกอบด้วยเรื่องเกี่ยวกับ สวนลุมพินี นามสกุล กำแพงพระนคร จีน มณฑลพายัพ ผู้ร้าย ซ่อมสร้าง ที่ดิน เนรเทศ และอุทกภัย วาตภัย
ความรับผิดชอบ การออกประกาศและตราพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง ซึ่งพระราชบัญญัติที่ตราขึ้นใหม่ในรัชสมัยนี้คือ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ.2473 นอกจากนี้เอกสารในหมวดนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารราชการในส่วนกลางของกรมต่างๆ ที่อยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น ได้แก่ กรมพลำพัง (กรม
การปกครอง) กรมพระคชบาล กรมนคราทร กรมตรวจคนเข้าเมือง กรมอัยการ กรมราชทัณฑ์ และ กรมตำรวจภูธร นครบาล ภูบาล การบริหารราชการในส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดมีนบุรี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดพระประแดง เอกสารในหมวดนี้ยังมีข้อมูลเรื่องอื่นๆ ที่น่าศึกษา ค้นคว้า วิจัยอีกหลายหัวข้อ ประกอบด้วยเรื่องเกี่ยวกับ สวนลุมพินี นามสกุล กำแพงพระนคร จีน มณฑลพายัพ ผู้ร้าย ซ่อมสร้าง ที่ดิน เนรเทศ และอุทกภัย วาตภัย
ทั้งนี้สาเหตุที่มีเอกสารอยู่ภายใต้หมวดหมู่นี้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเอกสารชุดนี้เป็นเอกสารของกระทรวงมหาดไทยที่มีภารกิจหลักในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัยและการพัฒนาเมือง
บรรณนิทัศน์ : เศรษฐกิจ
ในสมัยรัชกาลที่ 7 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลกเนื่องจากเป็นระยะเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศสยามในยุคสมัยนั้นก็รับผลกระทบของโลกไปตามด้วย เอกสารจดหมายเหตุไมโครฟิล์มรัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทยหมวดเศรษฐกิจสามารถสะท้อนภารกิจของกระทรวงมหาดไทยถึงเรื่องของเศรษฐกิจได้เด่นชัด ในเรื่องที่เป็นเอกสารของกรมท่าขวา กรมท่าซ้าย เรื่องของล็อตเตอรี่ เรื่องของการตกข้าว การทอผ้า ซึ่งกรมท่าอยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น
หากพิจารณาเอกสารการบริหารของกระทรวงมหาดไทยในสมัยนี้ว่าสะท้อนในหมวดเศรษฐกิจได้ไม่ชัดเจนโดยตรงนัก แต่หากนำเรื่องของการปรับเปลี่ยนโยกย้ายข้าราชการ การยุบรวมกระทรวง การแก้ปัญหาราคาข้าว ฯ ก็จะสามารถนำไปอ้างอิงในด้านเศรษฐกิจโดยรวมของทั้งประเทศได้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารอันเนื่องมาจากภาวะรายได้ของประเทศที่ตกต่ำซึ่งเป็นพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างแท้จริง
บรรณนิทัศน์ : การคมนาคม
เนื้อหาของเอกสารไมโครฟิล์ม รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทยในหมวดหมู่
การคมนาคมนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างและบำรุงรักษาถนน สะพาน คลอง ซึ่งถือเป็น
การคมนาคมหลักในสมัยนั้นมีการสร้างถนนในเขตพระนคร ถนนเชื่อมจังหวัดธนบุรีกับพระนคร ถนนในต่างจังหวัด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแม้ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะประสบกับภาวะเศรษฐกิจอย่างหนัก แต่พระองค์ยังคงให้ความสำคัญกับการคมนาคมโดยมีพระราชดำริเห็นชอบในการสร้างและบำรุงรักษาถนน สะพาน คลองต่างๆ และมีพระบรม
ราชานุญาตให้ภาคเอกชนและประชาชนที่ประสงค์จะบริจาคทรัพย์ ที่ดินหรือช่วยออกแรงใน
การสร้างและบำรุงรักษาถนน สะพาน คลองสามารถดำเนินการได้ตามประสงค์
การคมนาคมนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างและบำรุงรักษาถนน สะพาน คลอง ซึ่งถือเป็น
การคมนาคมหลักในสมัยนั้นมีการสร้างถนนในเขตพระนคร ถนนเชื่อมจังหวัดธนบุรีกับพระนคร ถนนในต่างจังหวัด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแม้ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะประสบกับภาวะเศรษฐกิจอย่างหนัก แต่พระองค์ยังคงให้ความสำคัญกับการคมนาคมโดยมีพระราชดำริเห็นชอบในการสร้างและบำรุงรักษาถนน สะพาน คลองต่างๆ และมีพระบรม
ราชานุญาตให้ภาคเอกชนและประชาชนที่ประสงค์จะบริจาคทรัพย์ ที่ดินหรือช่วยออกแรงใน
การสร้างและบำรุงรักษาถนน สะพาน คลองสามารถดำเนินการได้ตามประสงค์
อย่างไรก็ดีมีเรื่องที่น่าสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ หรือที่เรียกว่าสะพานพุทธ คือ มีพระบรมราชานุญาตให้ออกประกาศ พระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรี และจังหวัดพระนคร เนื่องในการสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า โดยทรงโปรดเกล้าฯ อนุญาตในที่ประชุมเสนาบดีสภา สำหรับรายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับการสร้างสะพานแม้ว่าจะไม่พบในชุดเอกสารไมโครฟิล์ม รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทยมากนัก แต่อาจพบในชุดเอกสารไมโครฟิล์มอื่นๆ
บรรณนิทัศน์ : การสาธารณสุข
เนื้อหาของเอกสารไมโครฟิล์ม รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ในหมวดหมู่
การสาธารณสุข เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารงานของกรมสาธารณสุขซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงมหาดไทย ในเรื่องเกี่ยวกับการแพทย์ การพยาบาล โรคต่างๆที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เช่น ไข้ทรพิษ อหิวาตกโรค โรคระบาดต่างๆทั่วประเทศ การสุขาภิบาล มี โอสถสภา หรือสถานีอนามัยขนาดเล็กตามจังหวัดต่างๆ มีเรื่องการอนุญาตก่อสร้างโรงพยาบาลกลาง กรมสาธารณสุข เป็นต้น
การสาธารณสุข เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารงานของกรมสาธารณสุขซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงมหาดไทย ในเรื่องเกี่ยวกับการแพทย์ การพยาบาล โรคต่างๆที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เช่น ไข้ทรพิษ อหิวาตกโรค โรคระบาดต่างๆทั่วประเทศ การสุขาภิบาล มี โอสถสภา หรือสถานีอนามัยขนาดเล็กตามจังหวัดต่างๆ มีเรื่องการอนุญาตก่อสร้างโรงพยาบาลกลาง กรมสาธารณสุข เป็นต้น
เอกสารจดหมายเหตุของกรมสาธารณสุขและการใช้พระราชบัญญัติต่างๆ เกี่ยวกับ
การสาธารณสุขต่างๆในสมัยการปกครองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้านี้ สะท้อนให้เห็นว่าพระองค์ทรงห่วงใยให้ความสำคัญเรื่องของสุขภาพอนามัยของราษฎร ซึ่งพระราชบัญญัติที่มี
การใช้ในสมัยนี้ได้แก่พระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษ พระราชบัญญัติสำหรับตรวจป้องกันโรคสัตว์พาหนะร.ศ.119 พระราชบัญญัติระงับโรคระบาด พระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษ พ.ศ.2456 พระราชบัญญัติเทศาภิบาล มีการร่างพระราชบัญญัติลักษณะฆ่าโคกระบือและสุกร
การสาธารณสุขต่างๆในสมัยการปกครองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้านี้ สะท้อนให้เห็นว่าพระองค์ทรงห่วงใยให้ความสำคัญเรื่องของสุขภาพอนามัยของราษฎร ซึ่งพระราชบัญญัติที่มี
การใช้ในสมัยนี้ได้แก่พระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษ พระราชบัญญัติสำหรับตรวจป้องกันโรคสัตว์พาหนะร.ศ.119 พระราชบัญญัติระงับโรคระบาด พระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษ พ.ศ.2456 พระราชบัญญัติเทศาภิบาล มีการร่างพระราชบัญญัติลักษณะฆ่าโคกระบือและสุกร
บรรณนิทัศน์ : หนังสือพิมพ์
เนื้อหาของเอกสารไมโครฟิล์มรัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ในหมวดหมู่หนังสือพิมพ์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับข่าวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทยอันประกอบด้วย บันทึกข่าวเสนอเสนาบดี การสอบสวนข่าวที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ เอกสารการขออนุญาตออกหนังสือพิมพ์ บทความเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ชีวิตความเป็นอยู่ สภาพสังคม วัฒนธรรม ข่าวเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศและต่างประเทศ เช่น อุทกภัย ลัทธิบอลเชวิค คดีความ ข่าวเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดต่างๆ ข่าวจากหนังสือพิมพ์จีน นอกจากนั้นได้มีการจัดเรียงข่าวตามชื่อหนังสือพิมพ์ที่ลงข่าวด้วย ได้แก่ หลักเมือง เกราะเหล็ก ไทยหนุ่ม เดลิเมล์ พิมพ์ไทย ศรีกรุง และบางกอกการเมือง เอกสารไมโครฟิล์ม รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ในหมวดหนังสือพิมพ์นี้สามารถสะท้อนภาพเหตุการณ์ต่างๆ ของประเทศในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี ทั้งเรื่องของการเมืองการปกครอง การดำรงชีวิตสังคม วัฒนธรรม
ความเป็นอยู่ของประชาชน เป็นต้น
ความเป็นอยู่ของประชาชน เป็นต้น
รายชื่อหนังสือพิมพ์ที่พบในเอกสาร ได้แก่ กรุงเทพฯเดลิเมล์ เกราะเหล็ก เดลิเมล์ ไทยหนุ่ม บางกอกการเมือง พิมพ์ไทย ศรีกรุง หลักเมือง ราษฎร เสียงสยาม ไทยเขษมรวมข่าว สยามโฟแทกซ์ สยามออฟเซอร์เวอร์ สาส์นพระนคร สยามรีวิว และ หนังสือพิมพ์จีนจะมี
กัวมินยิดป่อ ตงฮั้วมิ่นป่อ ฮั่วเคี้ยวยิดป่อ ฮั่วเฉียวเยาะเป้า ฮั่วเซียมซินป่อ ฮั่วมินป่อ
กัวมินยิดป่อ ตงฮั้วมิ่นป่อ ฮั่วเคี้ยวยิดป่อ ฮั่วเฉียวเยาะเป้า ฮั่วเซียมซินป่อ ฮั่วมินป่อ