1. โครงการ : ภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในสังคมไทย (พ.ศ. 2465-2475)
(Caricature and Political Cartoon in Thai Society)
2. ชื่อผู้วิจัย : นางฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร
นักวิชาการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า
3. คณะกรรมการกำกับโครงการวิจัย :
1. รองศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย ประธาน
2. รองศาสตราจารย์ ดร. นิยม รัฐอมฤต กรรมการ
3. รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กรรมการ
4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย :
1.ศึกษาความหมายและต้นกำเนิดของภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในสังคมไทย (Caricature and Political Cartoon in Thai Society)
2.ปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในหนังสือพิมพ์ไทยสมัยรัชกาลที่ 7
3. ความสัมพันธ์ของภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในสังคมไทยกับเสรีภาพทางการเมือง
4. อธิบายและวิเคราะห์ภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในช่วงเวลาที่เลือกเป็นกรณีศึกษา
5. สมมติฐานของการวิจัย
1.ภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในสังคมไทยเป็นนวัตกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก
2. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในหนังสือพิมพ์ไทยคือ ความต้องการในการล้อเลียน เสียดสีและวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของผู้ปกครอง และผู้ที่มีอำนาจทางการเมือง
3.เสรีภาพทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับการสร้างงานภาพล้อและการ์ตูนการเมือง กล่าวคือ หากสังคมใดเป็นเผด็จการจะไม่เกิดภาพล้อและการ์ตูนการเมือง หรือพบน้อยมาก
4.ภาพล้อและการ์ตูนการเมืองที่เลือกศึกษาเป็นช่วงก่อกำเนิดในสังคมไทยสะท้อนว่า เกิดความไม่พอใจในระบบการปกครองเก่าและต้องการความเปลี่ยนแปลง ส่วนบุคคลที่ถูกล้อเลียนส่วนมากเป็นผู้มีอำนาจและมีอิทธิพลทางการเมืองการปกครองในสมัยนั้น
6. วิธีการในการวิจัย : ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาพล้อและการ์ตูนการเมืองและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาที่ทำการศึกษาเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับกำเนิดของภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในสังคมไทยโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ศิลปะ(Historical and Art history approach ) และใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (indepth interview) กับนักวาดภาพการ์ตูนล้อการเมืองรวมทั้งสัมภาษณ์นักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับภาพล้อและการ์ตูนการเมือง
7. ขอบเขตของการวิจัย : ศึกษาหลักฐานภาพล้อและการ์ตูนการเมืองจากหนังสือพิมพ์ในสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 6 โดยเลือกตัวอย่างภาพล้อและการ์ตูนการเมืองจากหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต ตั้งแต่พ.ศ. 2461-2466 บางส่วน และภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในหนังสือพิมพ์บางกอกการเมืองและสยามรีวิวรายสัปดาห์ระหว่าง พ.ศ. 2469-2470 (สบ. 9.2.2/15) (เลือกศึกษาจากเอกสารส่วนบุคคลของนายเอก วีสกุล) เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มมีภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในสังคมไทยและก่อนเหตุการณ์ปฎิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475
8. ความสำคัญของปัญหากำเนิดภาพล้อและการ์ตูนการเมือง
“ภาพล้อและการ์ตูนการเมือง” (Caricature and Political Cartoon ) หมายถึง ภาพวาดลายเส้นพร้อมเล่าเรื่องเชิงตลกขบขันและล้อเลียน มุ่งให้ความสนุกสนาน แต่ในบางครั้งก็มุ่งประชดประชัน เสียดสี สั่งสอน ตำหนิ แนะนำ หรือ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมือง หรือ เกี่ยวกับสังคมใดสังคมหนึ่งทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
บิดาการเขียนภาพล้อของโลก คือ เจมส์ กิลล์เรย์ (James Gillray, ค.ศ. 1757-1815) จิตรกรชาวอังกฤษ ซึ่งเสนอผลงานเป็นภาพล้อเลียนพระบรมวงศานุวงศ์ของอังกฤษ ด้วยความไม่พอใจต่อการใช้จ่ายเงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย การผิดศีลธรรมของชนชั้นสูงและการทำงานของรัฐบาล ไกรฤกษ์ นานา ในบทความชื่อ “จาก-เรื่องตลก การ์ตูน ร.5 เสด็จประพาสยุโรปถึง-เรื่องไม่ตลก งานพระบรมศพ ร.5 ผิดองค์” ( ศิลปวัฒนธรรม, กันยายน , 2546, หน้า 60 ) ระบุว่า ในบรรดาภาพลายเส้นประเภทล้อเลียนบุคคล (Caricature) ซึ่งพบครั้งแรกเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่19และถือกำเนิดในยุโรปนั้น มีภาพการเสด็จประพาสยุโรปในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2440) รวมอยู่ด้วยส่วนหนึ่ง
ภาพล้อการเมืองซึ่งโดดเด่นที่สุดชิ้นหนึ่ง ถูกวาดและตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ล้อการเมืองของประเทศฝรั่งเศส ชื่อ เลอ ปิโรลี (LE PILORI :1897) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่เฉพาะรูปการ์ตูนเสียดสีทุกรูปแบบนั้น ได้เสนอภาพขึ้นปกล้อการพบกันระหว่างรัชกาลที่ 5 กับประธานาธิบดีเฟลิกซ์ (Felix) ของฝรั่งเศส ภาพดังกล่าวแม้จะตีพิมพ์คำวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาอยู่ด้วยแต่แฝงไว้ซึ่งอารมณ์ขัน โดยในภาพมีฉากการโอบกอดทักทายแสดงความเป็นมิตรแบบฝรั่ง และมีอธิบายว่า“ถ้าเป็นนิโคลาสคงจะง่ายกว่านี้” (Decidement je prefere Nicolas) ทั้งนี้เนื่องจากรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระวรกายที่เล็กกว่าพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ 2 แห่งรัสเซีย
การ์ตูนการเมืองไทยที่เก่าที่สุดนั้นมีบันทึกไว้ครั้งแรกในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพ.ศ. 2407 ทรงกล่าวถึงภาพจิตรกรรมที่ระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามว่า ช่างเขียนได้แทรกรูปล้อเลียนขุนนางต่างๆที่มีตัวตนจริงๆหลายรูป แม้ว่าในปัจจุบันอาจจะเลือนลางไปหมดแล้ว แต่ก็เป็นหลักฐานว่า คนไทยก็เขียนภาพล้อในเวลาไล่เลี่ยกับชาวตะวันตก
จิตรกรที่มีชื่อเสียง คือ ขรัวอินโข่ง เป็นผู้ริเริ่มเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นลักษณะภาพเหมือนบุคคลจริงในภาพจิตรกรรม เช่น จิตรกรรมในพระที่นั่งทรงผนวช มีภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ในรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และภาพเขียนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
ในอุโบสถวัดราชประดิษฐสถิตสีมาราม มีภาพบันทึกเหตุการณ์ทอดพระเนตรสุริยุปราคา นอกจากนี้การเขียนภาพขำขันโดยใช้แกะไม้ง่ายๆ ทำแม่พิมพ์คล้ายวิธีของฝรั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ปรากฏอยู่ในหนังสือสำราญวิทยา ร.ศ. 125 พ.ศ. 2449 ต่อมาจึงมีการ์ตูนช่องพร้อมกลอนยาวๆในจดหมายเหตุแสงอรุณในปีพ.ศ. 2450
ส่วนภาพล้อ หรือ การ์ตูนการเมืองในหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยเริ่มขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเขียนภาพล้อขึ้นเพื่อตักเตือนข้าราชการด้วยพระองค์เองลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิตมากที่สุด
หลังจากนั้นประมาณพ.ศ. 2466 หนังสือพิมพ์ก็เริ่มมีภาพประกอบข่าว ระยะแรกๆ หนังสือพิมพ์ที่มีภาพล้อ หรือ การ์ตูนการเมืองมีเพียงไม่กี่ฉบับ เช่น กรุงเทพเดลิเมล์ ซึ่งบริษัทสยามฟรีเปรสเป็นเจ้าของ หนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ส่วนหนังสือพิมพ์สยามออฟเซิร์ฟเวอร์เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ หนังสือพิมพ์ดังกล่าวนี้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาล หรือ กรมพระคลังข้างที่ ดังนั้น หนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับจึงเปรียบเสมือนกระบอกเสียงของรัฐบาลสมัยนั้น นอกจากนี้ยังมีหนังสือพิมพ์อีกฉบับที่ตีพิมพ์ภาพการ์ตูน คือ ยามาโต เริ่มออกในพ.ศ. 2465 โดยมีนายไอ เคียวคาวา ชาวญี่ปุ่นเป็นเจ้าของและเป็นคนคิดภาพล้อการ์ตูนการเมือง
สำหรับนักเขียนการ์ตูนการเมืองที่มีชื่อในสมัยแรกๆมีอยู่ 3 คน คือ “เปล่ง” “เสือเตี้ย” และ “ธัญญ” ภาพล้อหรือการ์ตูนในหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯเดลิเมล์เป็นฝีมือการเขียนของ “ขุนปฎิภาคพิมพ์ลิขิต” นักเขียนการ์ตูนล้อการเมืองคนแรกในสังคมไทย ซึ่งใช้นามปากกาว่า “เปล่ง” หมายถึง นาย เปล่ง ไตรปิ่น (พ.ศ. 2428-2485) เขาเริ่มการเขียนภาพล้อการเมืองด้วยการส่งภาพเข้าประกวดของหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯเดลิเมล์ และได้รางวัลชนะเลิศ
ส่วนการ์ตูนล้อการเมืองในหนังสือพิมพ์ “ยามาโต” เป็นฝีมือของการเขียนของ นายธัญญะ อุทธกานนท์ ซึ่งใช้นามปากกาว่า “ธัญญะ” และเขียนภาพการ์ตูนล้อการเมืองในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ชื่อว่า “เกราะเหล็ก”
ในสมัยนั้นภาพการ์ตูนที่ออกมาล้อการเมืองทั้งสิ้น เมื่อนักเขียนการ์ตูนเขียนโจมตีผู้ใดแล้ว คนที่ถูกโจมตี หรือ นำมาล้อในภาพการ์ตูนแทบจะทนดูไม่ไหว เช่น “ธัญญะ” เขียนภาพการ์ตูนล้อท่านเจ้าคุณยมราช โดยเขียนรูปอีแร้งหัวแดง เอาหน้าตาท่านเจ้าคุณยมราชใส่ไปในหน้าอีแร้ง ซึ่งกำลังยืนเกาะกิ่งไม้มองดูคนเดินทางที่ผ่านไปมา แล้วมีข้อความเป็นคำถามว่า “คอยจิกกบาลใครอีกล่ะที่นี้” เพียงเท่านี้เอง หนังสือพิมพ์ก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
ภาพล้อและการ์ตูนการเมืองบางรูปได้รับความนิยมมากจนต้องพิมพ์ซ้ำบ่อยๆ ทำให้ “บล็อกเกือบพัง” เพราะเสียงเรียกร้องจากประชาชน หลังจากธัญญะ อุทธกานนท์เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง ก็มีนักเขียนการ์ตูนล้อการเมือง ชื่อ นายเฉลิมวุฒิ โฆสิต เจ้าของนามปากกา “เฉลิมวุฒิ” เขียนงานในหนังสือพิมพ์ “หลักเมือง” และจำนง รอดอริ ในหนังสือพิมพ์รายวัน “ศรีกรุง”
บทบาทหนังสือพิมพ์ก่อนพ.ศ. 2475
ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 มีสามัญชนผู้หนึ่ง ชื่อ ก.ศ.ร. กุหลาบ ออกหนังสือพิมพ์ สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษในปี พ.ศ. 2440 แม้ว่าหนังสือพิมพ์ของสามัญชนต้องแข่งขันกับหนังสือพิมพ์ของเจ้านายและเสี่ยงต่อการขาดทุน เพราะโฆษณายังไม่แพร่หลาย แต่กลับได้รับความนิยมจากผู้อ่านเป็นอย่างมาก ระยะแรกออกเป็นรายเดือนต่อมาออกเป็นรายปักษ์ (รายสองสัปดาห์) เพราะกระแสตอบรับมีเพิ่มขึ้น มีการนำเสนอข่าว ความรู้ ประวัติศาสตร์ มีการเยาะเย้ยถากถางสังคมและมีการตอบข้อคำถามที่มีคนส่งมายังบรรณาธิการ
จุดเด่นของหนังสือสยามประเภทอยู่ที่เรื่องพงศาวดารและโบราณคดี ซึ่งก.ศ.ร.กุหลาบ สืบเสาะค้นคว้ามาจากหนังสือเก่า ด้วยการแอบคัดลอกเอกสารในหอหลวงมาให้ประชาชนอ่าน ทำให้มีผู้นิยมเชื่อถือมาก แต่ต่อมาก็ได้มีการแต่งเติม สอดแทรกความคิดของตนเข้าไปทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่พอพระทัย ก.ศ.ร. กุหลาบ จึงถูกจับตัวไปอยู่
โรงพยาบาลบ้า 7 วัน นับว่าเป็นครั้งแรกที่คนไทยถูกสอบสวนเรื่องการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์
เทียนวรรณ เป็นนักคิดและนักเขียนที่ได้รับการศึกษาจากการบวชเรียน การมีความรู้ภาษาอังกฤษ ทำให้เทียนวรรณทราบข่าวคราวและแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองจากตะวันตก เป็นผู้มีความคิดเห็นแบบสมัยใหม่ เช่น เรียกร้องให้มีการเลิกทาส การมีภรรยาได้คนเดียว เทียนวรรณนิยมเขียนไปลงตามสิ่งพิมพ์ต่างๆ จนถูกข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ถูกเฆี่ยนและจำคุกอยู่ถึง 17 ปี
โรงพยาบาลบ้า 7 วัน นับว่าเป็นครั้งแรกที่คนไทยถูกสอบสวนเรื่องการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์
เทียนวรรณ เป็นนักคิดและนักเขียนที่ได้รับการศึกษาจากการบวชเรียน การมีความรู้ภาษาอังกฤษ ทำให้เทียนวรรณทราบข่าวคราวและแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองจากตะวันตก เป็นผู้มีความคิดเห็นแบบสมัยใหม่ เช่น เรียกร้องให้มีการเลิกทาส การมีภรรยาได้คนเดียว เทียนวรรณนิยมเขียนไปลงตามสิ่งพิมพ์ต่างๆ จนถูกข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ถูกเฆี่ยนและจำคุกอยู่ถึง 17 ปี
เมื่อออกจากคุกในปี พ.ศ. 2443 เทียนวรรณออกหนังสือพิมพ์ ชื่อ ตุลยวิภาคพจนกิจ เป็นรายปักษ์ เพราะเห็นว่าหนังสือพิมพ์ที่มีอยู่สมัยนั้นไม่ได้ทำหน้าที่ติเตียนรัฐบาล เขาได้เรียกร้องเสรีภาพในการพูด การเขียน และคอยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ทำให้หนังสือพิมพ์ของเขาล้ำหน้าไปกว่าหนังสือพิมพ์อื่นในสมัยนั้น
ตุลยวิภาคพจนกิจ ตีพิมพ์เผยแพร่จนถึง พ.ศ. 2449 ก็เลิกกิจการ แต่พอถัดมาในปี พ.ศ. 2450 เทียนวรรณได้ออกหนังสืออีกเล่มหนึ่งชื่อ ศิริพจนภาค เป็นหนังสือรายเดือน แต่ออกได้ปีเดียวก็เลิกกิจการ c]tในบั้นปลายชีวิต เทียนวรรณประสบกับความยากลำบากและพิการตาบอด
หนังสือพิมพ์ซึ่งออกในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ฉบับอื่น ได้แก่ สาราราษฎร์(2436-2466) จีนโนสยามวารศัพท์ (2450-2466) พิมพ์ไทย (2451) กรุงเทพเดลิเมล์(2441-2476) หนังสือพิมพ์เหล่านี้มีลักษณะต่างไปจากหนังสือราชการและตีพิมพ์ต่อเนื่องจนถึงสมัยรัชกาลที่ 7 เป็น
หนังสือพิมพ์ที่จัดว่ามีบทบาทสำคัญในประวัติหนังสือพิมพ์ไทยในเวลาต่อมา
หนังสือพิมพ์ที่จัดว่ามีบทบาทสำคัญในประวัติหนังสือพิมพ์ไทยในเวลาต่อมา
หนังสือพิมพ์มีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการปกครองแบบใหม่และ
ปฏิเสธระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น น.ส.พ.ตุลวิภาคพจนกิจ (พ.ศ.2443-2449) น.ส.พ.ศิริพจนภาค (พ.ศ.2451) น.ส.พ.จีนโนสยามวารศัพท์ (พ.ศ.2446-2450) น.ส.พ.บางกอกการเมือง (พ.ศ.2464) น.ส.พ สยามรีวิวรายสัปดาห์ (พ.ศ.2469-2470) น.ส.พ.ไทยใหม่ (พ.ศ.2474) ซึ่งต่างก็เรียกร้องให้มีการปกครองในระบบรัฐสภาที่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ โดยชี้ให้เห็นถึงความดีงามของระบอบประชาธิปไตยที่จะเป็นแรงผลักดันให้ประชาชาติมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าที่เป็นอยู่ ดังปรากฏตัวอย่างในประเทศที่มีการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งกระแสเรียกร้องของสื่อมวลชนมีส่วนต่อการสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองและชี้นำไปสู่ระบบรัฐสภา
สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นยุคที่สถานะทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศดีขึ้น จึงมีการวางรากฐานการศึกษาแก่ประชาชน มีการออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 บังคับให้เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ เรียนหนังสือในโรงเรียนจนอายุ 14 ปีบริบูรณ์ นอกจากนี้ประชาชนยังมีความตื่นตัวทางการเมืองเนื่องจากสภาวะของเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 และการเมืองในประเทศจีนในปี พ.ศ. 2467
ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดงานด้านหนังสือพิมพ์ และทรงมีพระราชอัธยาศัยโปรดฯการแสดงความคิดเห็นอันเป็นอิทธิพลจากการที่ไปศึกษาในประเทศอังกฤษ ปัจจัยต่างๆดังกล่าวผลักดันให้มีหนังสือพิมพ์ออกมาอย่างแพร่หลาย ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน
หนังสือที่ออกเพิ่มในรัชกาลที่ 6 มีจำนวน 130 ชื่อด้วยกัน โดยเฉพาะหนังสือทวีปัญญา รายเดือนเป็นหนังสือที่ออกเมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบรมโอรสาธิราช ฉบับแรกออกเมื่อปี พ.ศ. 2450 เพื่อส่งเสริมความรู้ “อิงนิยายให้อ่านกันเล่น” เปิดโอกาสให้คนส่งเรื่องมาลงตีพิมพ์ นอกจากนี้รัชกาลที่ 6 ยังทรงออกหนังสือข่าวของเมืองจำลองดุสิตธานี ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ ได้แก่ ดุสิตสมัยรายวัน และดุสิตสมิตราย 3 เดือน ซึ่งได้รับความนิยมมาก มีทั้งเรื่องการเมือง เรื่องตลกขบขัน เบ็ดเตล็ด และกวีนิพนธ์ ลักษณะเด่นของหนังสือดังกล่าว คือ มีการตีพิมพ์การ์ตูนล้อการเมืองด้วย
หนังสือพิมพ์เป็นเวทีแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและสนามสำหรับแสดงโวหาร พระราชนิพนธ์ที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ได้แก่ “โคลนติดล้อ” และ “ล้อติดโคลน” เป็นการเขียนถึงสังคม ความเป็นอยู่ และการเมืองของไทย อย่างไรก็ตาม เป็นหลักในการปกครองประเทศอย่างต่อเนื่อง
หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผ่านพ้นไปได้เพียง 20 ปีเศษ สภาพสังคมส่วนใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 6-7 ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมในระบบเจ้าขุนมูลนาย นอกจากนี้ คนส่วนน้อยยังคงมีฐานะ สิทธิ ผลประโยชน์ต่างๆ เหนือคนไทยส่วนใหญ่ คนส่วนใหญ่มักมีความเห็นคล้อยตามความคิดที่ส่วนน้อยซึ่งเป็นชนชั้นนำของสังคมไทยชี้นำ ถ้าจะมีความขัดแย้งในสังคมก็มักจะเป็นความขัดแย้งในทางความคิด และความขัดแย้งในเชิงผลประโยชน์ในหมู่ชนชั้นนำของสังคมที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก มากกว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้นำของสังคมไทยกับราษฎรทั่วไป
9. วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง :
1. รศ.ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ในหนังสือ “ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมือง ในการปฏิวัติสยาม 2475” พยายามเน้นการศึกษาไปที่ภาพการเคลื่อนไหวของสังคมการเมืองโดยรวมทั้งหมด นับตั้งแต่ชนชั้นสูง ผู้มีอำนาจทางการเมือง ระบบราชการ ปัญญาชน พ่อค้า ชนชั้นกลาง นักหนังสือพิมพ์ ไล่เรียงลงมาจนถึงระดับของราษฎรทั่วไปที่ปรากฏก็คือ สังคมสยามมีการเปลี่ยนแปลงและมีการเคลื่อนไหวจากกลุ่มคนหลายระดับ และนำมาซึ่งวิกฤตการณ์ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อน พ.ศ. 2475) ที่สำคัญสองลักษณะคือ วิกฤตการณ์เกี่ยวกับความชอบธรรม (การเสื่อมศรัทธาในราชวงศ์ มีการวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ ฯลฯ) และวิกฤตการณ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบอบการปกครอง (การที่ระบอบการปกครองมีข้อจำกัดไม่สามารถแก้ปัญหาตามความคาดหวังของผู้คนได้)
ทำให้เห็นว่ากระแสภูมิปัญญาที่แสดงออกในรูปของข้อเรียกร้องให้มี “คอนสติตูชั่น” “ปาลิเมนต์” การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ฯลฯ ซึ่งมีมาก่อน พ.ศ. 2475 เป็นพลังผลักดันสำคัญ และคณะราษฎรได้ตอบสนองความคิดของผู้คนในระดับต่างๆ อย่างแข็งขันมากกว่ารัฐบาลในระบอบเก่าเช่นเดียวกับในบทต่อมาที่เจาะจงทำการศึกษาความนึกคิดทางการเมืองและเศรษฐกิจของราษฎรในทศวรรษ 2470 ที่แสดงให้เห็นว่าในหมู่ราษฎรเองก็มิได้นิ่งเฉยหรือไม่มีบทบาทต่อความเป็นไปในบ้านเมือง ในทางกลับกัน พวกเขามีผู้นำหรือปัญญาชนทำหน้าที่รายงานสถานการณ์จากเบื้องล่าง ผ่านช่องทาง “ถวายฎีกา” และต่อมาคือ “คำร้องเรียนแสดงความเห็น” ขึ้นไปถึงชนชั้นนำ ซึ่งก็ส่งผลทางจิตใจในหมู่ชนชั้นนำพอสมควร และคณะราษฎรเองก็อาศัยความรู้สึกนึกคิดลึกๆ ในหมู่ราษฎรนี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาใน “ประกาศของคณะราษฎร” ฉบับที่ 1 ซึ่งมีข้อความกล่าวถึงรัฐบาลในระบอบเก่าว่า “กดขี่ข่มเหงราษฎร” “ถือเอาราษฎรเป็นทาษ”หรือ“ปกครองอย่างหลอกลวง”เป็นต้น
การศึกษาวิจัยในบทที่ 6-9 เกี่ยวข้องกับเรื่อง “อำนาจการเมือง” ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะกำหนดการคลี่คลายของเหตุการณ์ทางการเมืองและเรื่องราวของประวัติศาสตร์ในระยะต่อมากลุ่มเจ้านายหรือกลุ่มราชวงศ์เป็นกลุ่มอำนาจที่สำคัญที่สุดในขณะนั้นที่คณะราษฎรต้องเข้าไปเผชิญหน้าโดยตรง ซึ่งในกลุ่มคณะราษฎรเองก็มีแนวคิดร่วมกันว่าต้องการที่จะขจัดอำนาจที่ผูกขาดอยู่ในมือของเจ้านายลง หลังจากเข้าทำการยึดอำนาจ คณะราษฎรก็ทำการบั่นทอน“กำลัง” ของกลุ่มเจ้านาย โดยการเชิญเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจและบารมีให้เดินทางออกนอกประเทศ ส่วนเจ้านายในระดับรองลงมาส่วนใหญ่ต้องออกจากราชการทั้งในสายพลเรือนและสายทหารและมีส่วนน้อยที่ได้เข้าไปทำงานร่วมกับคณะรัฐบาลใหม่
ในระยะต่อมากลุ่มคนหนุ่มในคณะราษฎรก็ต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มข้าราชการและทหารอาวุโสซึ่งยังสืบทอดอุดมการณ์เก่าก่อนการปฏิวัติอย่างเหนียวแน่น ความขัดแย้งดังกล่าวแสดงออกอย่างชัดเจนในเหตุการณ์ “กบฏบวรเดช” เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 ซึ่งเป็นแรงโต้กลับโดยตรงจากกลุ่มที่ไม่พอใจการกระทำของคณะราษฎร
กบฏบวรเดชเป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางการเมืองและโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจของการเมืองไทยสมัยใหม่ ภาระหนักของคณะราษฎรจึงมีทั้งด้านที่ต้องจัดการกับความสัมพันธ์ทางอำนาจภายในกลุ่มพวกเดียวกันและกับกลุ่มอำนาจเก่าที่พยายามรักษาสถานภาพและการปฏิบัติแบบเดิม อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดความสัมพันธ์ภายในคณะราษฎรก็ดำเนินมาถึงจุดสิ้นสุดอันเนื่องมาจากความแตกต่างของแนวคิดระหว่างกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกับกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป
รายละเอียดต่างๆ ของการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยังมีอีกมากมายในหนังสือเล่มนี้ ความคิดในการศึกษาประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากที่เคยเป็นมา ทำให้อาจารย์นครินทร์สามารถค้นพบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ช่วยให้ผู้อ่านได้รับความรู้และคำอธิบายที่แตกต่างไปจากเดิม นอกจากนี้ยังทำให้การปฏิวัติที่ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตยไทยครั้งนี้ไม่เป็นเพียงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่หยุดนิ่งหรือถูกครอบงำด้วยชุดความรู้ที่ตายตัวอีกต่อไป และทำให้ตระหนักว่ายังมีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์อีกหลายประการที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบ
2.รองศาสตราจารย์ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวความคิดและวิธีการสื่อสารทางการเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างพ.ศ. 2468 – พ.ศ. 2477 ” ตีพิมพ์เมื่อ พฤษภาคม พ.ศ. 2553 แบ่งหนังสือพิมพ์ออกเป็น 2 กระแส คือ เนื้อหาสาระอิสรเสรี และกระแสสองคือ เนื้อหาสาระด้านเดียวและปกิณกะความรู้ทางการเมือง เป็นการวิเคราะห์ความโดดเด่นของการนำเสนอเนื้อหาสาระของหนังสือพิมพ์ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตั้งแต่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ว่าทรงให้อิสรเสรีแก่หนังสือพิมพ์ จึงทำให้เนื้อหาบทความใน
ทำให้เห็นว่ากระแสภูมิปัญญาที่แสดงออกในรูปของข้อเรียกร้องให้มี “คอนสติตูชั่น” “ปาลิเมนต์” การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ฯลฯ ซึ่งมีมาก่อน พ.ศ. 2475 เป็นพลังผลักดันสำคัญ และคณะราษฎรได้ตอบสนองความคิดของผู้คนในระดับต่างๆ อย่างแข็งขันมากกว่ารัฐบาลในระบอบเก่าเช่นเดียวกับในบทต่อมาที่เจาะจงทำการศึกษาความนึกคิดทางการเมืองและเศรษฐกิจของราษฎรในทศวรรษ 2470 ที่แสดงให้เห็นว่าในหมู่ราษฎรเองก็มิได้นิ่งเฉยหรือไม่มีบทบาทต่อความเป็นไปในบ้านเมือง ในทางกลับกัน พวกเขามีผู้นำหรือปัญญาชนทำหน้าที่รายงานสถานการณ์จากเบื้องล่าง ผ่านช่องทาง “ถวายฎีกา” และต่อมาคือ “คำร้องเรียนแสดงความเห็น” ขึ้นไปถึงชนชั้นนำ ซึ่งก็ส่งผลทางจิตใจในหมู่ชนชั้นนำพอสมควร และคณะราษฎรเองก็อาศัยความรู้สึกนึกคิดลึกๆ ในหมู่ราษฎรนี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาใน “ประกาศของคณะราษฎร” ฉบับที่ 1 ซึ่งมีข้อความกล่าวถึงรัฐบาลในระบอบเก่าว่า “กดขี่ข่มเหงราษฎร” “ถือเอาราษฎรเป็นทาษ”หรือ“ปกครองอย่างหลอกลวง”เป็นต้น
การศึกษาวิจัยในบทที่ 6-9 เกี่ยวข้องกับเรื่อง “อำนาจการเมือง” ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะกำหนดการคลี่คลายของเหตุการณ์ทางการเมืองและเรื่องราวของประวัติศาสตร์ในระยะต่อมากลุ่มเจ้านายหรือกลุ่มราชวงศ์เป็นกลุ่มอำนาจที่สำคัญที่สุดในขณะนั้นที่คณะราษฎรต้องเข้าไปเผชิญหน้าโดยตรง ซึ่งในกลุ่มคณะราษฎรเองก็มีแนวคิดร่วมกันว่าต้องการที่จะขจัดอำนาจที่ผูกขาดอยู่ในมือของเจ้านายลง หลังจากเข้าทำการยึดอำนาจ คณะราษฎรก็ทำการบั่นทอน“กำลัง” ของกลุ่มเจ้านาย โดยการเชิญเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจและบารมีให้เดินทางออกนอกประเทศ ส่วนเจ้านายในระดับรองลงมาส่วนใหญ่ต้องออกจากราชการทั้งในสายพลเรือนและสายทหารและมีส่วนน้อยที่ได้เข้าไปทำงานร่วมกับคณะรัฐบาลใหม่
ในระยะต่อมากลุ่มคนหนุ่มในคณะราษฎรก็ต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มข้าราชการและทหารอาวุโสซึ่งยังสืบทอดอุดมการณ์เก่าก่อนการปฏิวัติอย่างเหนียวแน่น ความขัดแย้งดังกล่าวแสดงออกอย่างชัดเจนในเหตุการณ์ “กบฏบวรเดช” เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 ซึ่งเป็นแรงโต้กลับโดยตรงจากกลุ่มที่ไม่พอใจการกระทำของคณะราษฎร
กบฏบวรเดชเป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางการเมืองและโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจของการเมืองไทยสมัยใหม่ ภาระหนักของคณะราษฎรจึงมีทั้งด้านที่ต้องจัดการกับความสัมพันธ์ทางอำนาจภายในกลุ่มพวกเดียวกันและกับกลุ่มอำนาจเก่าที่พยายามรักษาสถานภาพและการปฏิบัติแบบเดิม อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดความสัมพันธ์ภายในคณะราษฎรก็ดำเนินมาถึงจุดสิ้นสุดอันเนื่องมาจากความแตกต่างของแนวคิดระหว่างกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกับกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป
รายละเอียดต่างๆ ของการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยังมีอีกมากมายในหนังสือเล่มนี้ ความคิดในการศึกษาประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากที่เคยเป็นมา ทำให้อาจารย์นครินทร์สามารถค้นพบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ช่วยให้ผู้อ่านได้รับความรู้และคำอธิบายที่แตกต่างไปจากเดิม นอกจากนี้ยังทำให้การปฏิวัติที่ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตยไทยครั้งนี้ไม่เป็นเพียงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่หยุดนิ่งหรือถูกครอบงำด้วยชุดความรู้ที่ตายตัวอีกต่อไป และทำให้ตระหนักว่ายังมีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์อีกหลายประการที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบ
2.รองศาสตราจารย์ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวความคิดและวิธีการสื่อสารทางการเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างพ.ศ. 2468 – พ.ศ. 2477 ” ตีพิมพ์เมื่อ พฤษภาคม พ.ศ. 2553 แบ่งหนังสือพิมพ์ออกเป็น 2 กระแส คือ เนื้อหาสาระอิสรเสรี และกระแสสองคือ เนื้อหาสาระด้านเดียวและปกิณกะความรู้ทางการเมือง เป็นการวิเคราะห์ความโดดเด่นของการนำเสนอเนื้อหาสาระของหนังสือพิมพ์ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตั้งแต่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ว่าทรงให้อิสรเสรีแก่หนังสือพิมพ์ จึงทำให้เนื้อหาบทความใน
หนังสือพิมพ์เปิดประเด็นสำคัญ 2 ประการ คือ (1) ชี้ภาวะวิกฤตของบ้านเมือง (2) การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
1) กรณีชี้วิกฤตของบ้านเมือง ใน 4 ประเด็น ได้แก่
1.1 การดุลยภาพข้าราชการ หรือการดุลออกไป
1.2 ความเสียเปรียบของประชาชนเรื่องเงินรัชชูปการ
1.3 ความเหลื่อมล้ำ การแบ่งชนชั้นออกเป็นขุนนางและราษฎร
1.4 การเรียกร้องความเป็นมนุษย์ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ปกครองต้องคำนึงถึง
2) การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน 3 ประเด็น ได้แก่
2.1 การเผยแพร่ลัทธิบอลเชวิค
2.2 การเรียกร้องให้ตั้งสภาราษฎร์หรือสภาผู้แทนราษฎร
2.3 การใช้ความรุนแรงในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ มหาวิทยาลัยรังสิต ศึกษาวิจัยเรื่อง “2475 และ 1 ปีหลังการปฏิวัติ” กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. อธิบายความรู้เกี่ยวกับการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 และปัญหาทางการเมืองในช่วง 1 ปีแรกหลังการปฏิวัติ และปัญหาความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างกลุ่มฝ่ายต่างๆ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ และกลุ่มเจ้านาย กลุ่มคณะราษฎร กลุ่มข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ กลุ่มอนุรักษ์นิยม ตลอดจนทำให้เข้าใจบทบาทของทหารต่อการเมืองไทยที่มีความสืบเนื่องต่อมาในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
4. นางสาวอัจฉราพร กมุทพิสมัย นักวิจัยสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “ปัญหาภายในสังคมไทยก่อนการปฏิวัติ 2475 : ภาพสะท้อนจากงานเขียนหนังสือพิมพ์” กรุงเทพฯ :สถาบันไทยคดีศึกษา,2532. อธิบายเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์สยามรีวิวไว้อย่างน่าสนใจว่า เป็นหนังสือพิมพ์ที่แตกแขนงมาจาก บางกอกการเมืองและไทยหนุ่ม มีนายสนิท เลาหะวิไล (เจ้าของแต่ในนามส่วนเจ้าของตัวจริงคือนายพร้อม เจ้าของร้านพร้อมภัณฑ์ ) นายชอ้อน อำพล เป็นบรรณาธิการ มีข้อสังเกตว่าบรรณาธิการและนักเขียนประจำมาจากกลุ่มคนในกบฏ รศ. 130 เช่น นายจรูญ นายอุทัย และนายบ๋วย ดังนั้นงานบทความในหนังสือพิมพ์สยามรีวิวจึงมีความโดดเด่นในการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
จากการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในสมัยรัชกาลที่ 7 ที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร พบหลักฐานที่น่าสนใจและสามารถอธิบายชุดของความคิดดังกล่าวในหนังสือพิมพ์สยามรีวิว ระหว่างพ.ศ. 2469- 2470 ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะอธิบายภาพล้อบุคคลและความหมายที่แฝงเร้นอยู่ในภาพการ์ตูนการเมืองจากเอกสารชั้นต้นดังกล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น